วันอาทิตย์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

การทูตของไทยในระดับพหุภาคี และทวิภาคี ในช่วงครึ่งปีแรก 2018

การทูตพหุภาคี ระดับโลก : องค์กรสหประชาชาติ

ตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สถานะของไทยไม่ชัดเจน ไทยไม่ใช่ทั้งผู้ชนะและผู้แพ้สงคราม ไทยจึงต้องการเป็นสมาชิก UN = ได้รับการยอมรับจากประชาคมโลก (ในกฎบัตร UN: ประเทศที่เป็นสมาชิก คือ ประเทศที่มีเอกราช และมีอำนาจอธิปไตย)
โดยไทยเข้าเป็นสมาชิก ในเวลาการประชุมสหประชาชาติสมัยแรก เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 1945 ลำดับที่ 55 โดยมี พระองค์เจ้าวรรณไวทยากร วรวรรณ รมว.กระทรวงการต่างประเทศ ทรงเป็นผู้แทนของไทยคนแรกประจำ UN
·         2015  ประชุมระดับรัฐมนตรี  G77 กลุ่มประเทศกำลังพัฒนาจาก 134 ประเทศ
·         2016 ในเวทีประชุม UN ไทยได้กล่าวเผยแพร่หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (SEP) ในที่ประชุม เพื่อแก้ปัญหาความไม่ยั่งยืน
เนื่องจาก ภัยคุกคามและความท้าทายใหม่ๆ ยังคงมีอยู่ ทั้งการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ภัยธรรมชาติโรคระบาด ความมั่นคงทางอาหาร-พลังงาน ภัยที่เกิดขึ้นจากมนุษย์ เช่น สงคราม ประเทศไทยประสบวิกฤติเศรษฐกิจ 'ต้มยำกุ้ง' เมื่อปี 1997 สึนามิ เมื่อปี 2004 และอุทกภัยครั้งใหญ่ เมื่อปี 2011 ทุกๆ ครั้ง ประเทศไทยก็ฟื้นกลับอย่างรวดเร็วจากการนำแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้
ติมอร์-เลสเตได้มีการพัฒนาหมู่บ้านตามแนวคิด SEP เดินหน้าประเทศสู่ความสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรม ส่งผลให้ 22 ประเทศ จาก 77 ประเทศ สนใจ จะมีความร่วมมือกับไทยเรื่อง SEP ผ่านการให้ทุนการศึกษา อบรมศึกษาดูงานโครงการพัฒนาต่างๆ ภายใต้ความร่วมมือหุ้นส่วนทวิภาคี และไตรภาคี
·         กระทรวงการต่างประเทศ นำเสนอ SEP For Sustaining ปรัชญาแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงซึ่งสอดคล้องกับ แนวคิด SDGs ของ UN
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่: https://www.thairath.co.th/content/732795


                                              การทูตพหุภาคี ระดับทวีป

·         การประชุมสุดยอดกรอบความร่วมมือเอเชีย (ACD)
เป็นวาระการประชุม การปรึกษาเจรจาเพื่อความร่วมมือในเอเชียเข้าด้วยกัน โดยปัจจุบันได้ขยายประเทศสมาชิกไปจนถึง34 ประเทศ สมาชิกล่าสุดคือ เนปาล (2016) ล่าสุดปี 2016 ที่ผ่านมา ไทยเป็นเจ้าภาพการประชุม 2nd ACD Summit 2016 ซึ่งมีการรับรองวิสัยทัศน์ร่วมเอเชีย 2023 ที่มีเป้าหมายเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยเน้นการพัฒนาความร่วมมือที่สนับสนุน เป้าหมาย SDGs (2030) ของ UN : ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การศึกษา การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ความมั่นคงทางพลังงาน อาหาร น้ำ วัฒนธรรม และการท่องเที่ยว
·         การประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศเอเชีย-ยุโรป (Asia-Europe Meeting : ASEM)
เป็นการประชุมของกลุ่มประเทศในเอเชียและยุโรป จัดตั้งขึ้นปี 1996 ณ กรุงเทพมหานคร เพื่อความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ การเมือง และวัฒนธรรมของสองกลุ่มประเทศ โดยการประชุม 12th ASEM Summit 2018 : ASEM12 จะจัดขึ้นที่ บรัสเซลส์

การทูตพหุภาคี ระดับภูมิภาค : ASEAN

                  ช่วงปี 2016-2030 ช่วงที่อาเซียนร่วมมืออย่างแข็งขันเพื่อเดินไปข้างหน้า โดยในปี 2019 ไทยกำลังจะเป็นประธานอาเซียนอีกครั้ง
 ความท้าทายของอาเซียน
1.      ความแตกต่างด้านระบบการเมืองของประเทศสมาชิก : ประชาธิปไตย เผด็จการ คอมมิวนิสต์ ทำให้ความร่วมมือเกิดได้ยาก
2.      ความแตกต่างด้านเศรษฐกิจ : ประเทศพัฒนาแล้ว และประเทศที่ยังไม่ได้รับการพัฒนา ระดับเกษตร ระดับอุตสาหกรรม ระดับนวัตกรรม
3.      ความแตกต่างด้านระดับการพัฒนา : สิงคโปร์กับประเทศอื่นๆ
4.      ปัญหาเรื่องเขตแดน
5.      ผู้นำขาดวิสัยทัศน์ เทียบกับในอดีตมีผู้นำที่เข้าใจโลก
6.      ประเด็น TIP report “ สถานการณ์การค้ามนุษย์ ไม่เคยมีประเทศใดในอาเซียนถูกจัดในระดับ Tier1 ข้อแนะนำ อาเซียนต้องใช้กลไกของคระกรรมาธิการระหว่างอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (AICHR) ในการร่วมมือแก้ไขปัญหาอย่างจริงจัง
7.      ปัญหาอาชญากรรมข้ามชาติ การก่อการร้าย ยาเสพติด ไปจนถึงปัญหาภัยพิบัติ : ไฟป่า สึนามิและโรคระบาด : มาลาเรีย ไข้เลือดออก ไข้หวัดใหญ่ ข้อแนะนำ : (ไทย)จัดทำระบบบริหารจัดการชายแดนในภูมิภาคอาเซียนที่มีการเชื่อมโยงกันทั้งระบบ

  •  เวทีการประชุมอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือในด้านการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก (ASEAN Regional Forum: ARF)
เป็นกลไกใหม่ที่คุยกันด้านความมั่นคง เพื่อต้องการให้เกิดดุลแห่งผลประโยชน์ระหว่างมหาอำนาจ โดยการเชิญมหาอำนาจมาร่วมคุยในทุกปี : สหรัฐฯ แคนาดา ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ยุโรป รัสเซีย อินเดีย จีน ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ โดยจัดครั้งแรกปี 1994 ณ ประเทศไทย ผ่านการรับรองหลักการต่างๆในสนธิสัญญามิตรภาพและความร่วมมือในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (TAC) การสนับสนุนการใช้กลไกทางการทูตเชิงป้องกัน รวมถึงการสร้างความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคง

                                   การทูตพหุภาคี ระดับอนุภูมิภาค

  • GMS หกเหลี่ยมเศรษฐกิจ ประเทศที่ใช้แม่น้ำโขงร่วมกัน ได้แก่ จีนตอนใต้ พม่า ลาว ไทย กัมพูชา และเวียดนาม เป็นความร่วมมือทางเศรษฐกิจ สังคม เพื่อลดความหวาดระแวงทางการเมืองของประเทศเพื่อนบ้าน
ผลประโยชน์ที่ไทยได้รับ
 ทางเศรษฐกิจ ขยายการค้า การลงทุนของไทย และ ทางการเมือง มีความสัมพันธ์อันใกล้ชิด
 ความร่วมมือ 4 ด้าน
1.      เชื่อมโยงทางกายภาพ : คมนาคมทางบก ถนน รถไฟ ทางน้ำ ท่าเรือ และทางอากาศ
2.      เชื่อมโยงทางด้านมนุษย์ : การท่องเที่ยว พัฒนาบุคลากร
3.      เชื่อมโยงทางเศรษฐกิจ : การค้า การลงทุน
4.      มีความสัมพันธ์ใกล้ เป็นมิตรชิด
 บทบาทไทย
2โครงการสำคัญ
              - แกนเหนือ ใต้ เชื่อม ไทย พม่า ลาว จีน
              - ระเบียงเศรษฐกิจตะวันตก และตะวันออก (EEC) เชื่อมมหาสมุทรแปซิฟิก มหาสมุทรอินเดีย และลาว

  • ACMECS
5 ประเทศ ได้แก่ ไทย กัมพูชา ลาว พม่า และเวียดนาม ที่มาจากการลงนามร่วม Bangan Declaration (2003) หรือปฏิญญาพุกาม เป็นผลงานนโยบายต่างประเทศในสมัยนายก พ.ต.ท ทักษิณ โดยไทยมีบทบาทนำเพราะมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุด ซึ่งมีจุดประสงค์ สร้างแหล่งนิคมอุตสาหกรรมตามแนวชายแดน เพื่อสร้างอาชีพ และลดปัญหาการอพยพข้ามชายแดนเข้ามาหางานทำในประเทศอื่น(ไทย)
ล่าสุด การประชุม ACMECS Summit 2018 ครั้งที่ 8
โดยไทยเป็นเจ้าภาพ  ารประชุมสุดยอดผู้นำยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอิรวดี เจ้าพระยา แม่โขง (ACMECS Summit) ครั้งที่ 8

ผลการประชุม
  • สนับสนุนให้ไทยเสนอแนวคิดจัดทำแผนแม่บทฉบับฉบับแรกของอนุภูมิภาค เพื่อกำหนดแนวทางการดำเนินงานของ AMECS ในอีก 5 ปีข้างหน้า (2023) โดยมีเป้าหมาย (1) ความร่วมมือด้านโครงสร้างพื้นฐานเส้นทางคมนาคม (2) ความร่วมมือด้านการค้า การและทุน และด้านการเงิน (3) การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อย่างยั่งยืนและมีนวัตกรรม โดยการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่
  • เห็นชอบให้ดำเนินโครงการตามระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก - ตะวันตก (East-West Economic Corridor - EWEC) และระเบียงเศรษฐกิจตอนใต้ (Southern Economic Corridor –SEC) ในระยะแรก ในอีก 2 ปีข้างหน้า เพื่อพัฒนาความเชื่อมโยงโครงสร้างพื้นฐานและเส้นทางคมนาคม ในการอำนวยความสะดวกด้านการค้าการลงทุน
  • แผนแม่บท AMECS ยังช่วยเติมเต็ม แผนแม่บทว่าด้วยความเชื่อมโยงระหว่างกันในอาเซียน 2025

การทูตทวิภาคี 2018

             พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีของไทย ได้เดินทางไปประเทศอังกฤษ และฝรั่งเศส เพื่อเดินหน้าความร่วมมือการค้าการลงทุน หวังเปิดโอกาสให้เอกชนของอังกฤษและผู้ลงทุนใหม่อย่างฝรั่งเศส เข้ามาลงทุนในโครงการระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC)

กับอังกฤษ

  • แจ้งแผนการเลือกตั้งของไทยต่อนายกเทเรซา เมย์ ของอังกฤษ ว่าจะมีขึ้นภายในปี 2019 หลังพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ร.10
  • นายกอังกฤษกล่าวว่าได้ติดตามข่าวจากประเทศไทยอยู่เสมอ และพร้อมเป็นกำลังใจ สนับสนุนให้ประเทศไทยเข้าสู่กระบวนการประชาธิปไตยในเร็ววัน
  • ไทยเชิญชวนเอกชนของอังกฤษเข้ามาลงทุนในโครงการ EEC
มีการวิเคราะห์ว่า การเยือนอังกฤษและฝรั่งเศส ของประเทศไทยในฐานะประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 2 ในภูมิภาค ASEAN สำนักข่าว BBC ได้นำเสนอว่า เป็นการนำศักยภาพทางเศรษฐกิจที่มีอยู่มาต่อรองกับการยอมรับจากชาติประชาธิปไตยตะวันตกต่อรัฐบาลทหารที่ยังไม่มีแนวโน้มจะคืนอำนาจให้รัฐบาลพลเรือนในเร็วๆนี้ ขณะที่ สองมหาอำนาจยุโรปมองว่าไทยคือแหล่งการค้าและการลงทุนที่สำคัญของสินค้าและบริการ
อย่างไรก็ตาม สหภาพยุโรป (EU) ยืนยันว่ายังไม่มีการปรับ "ท่าทีอ่อนลง" ต่อรัฐบาลทหารของไทย พร้อมยังคงเรียกร้องให้ไทยเข้าสู่กระบวนการประชาธิปไตย และแก้ปัญหาด้านสิทธิมนุษยชน (กรณีการห้ามการชุมนุมทางการเมืองของ กลุ่มคนอยากเลือกตั้งและกรณีการตัดสินคดีบนศาลทหารของไทย) เพราะสหภาพยุโรปจะยังไม่เจรจาเรื่องใด ๆ เช่น สนธิสัญญาการค้าเสรี ฯ อย่างเป็นทางการกับรัฐบาลไทย จนกว่าจะมีรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งแล้วเท่านั้น

กับฝรั่งเศส

  • มีการลงนามบันทึกความเข้าใจและลงนามสัญญาระหว่างภาคเอกชนไทยกับฝรั่งเศสด้วยรวม 3 ฉบับ ได้แก่ (1) บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการศึกษาในการพัฒนาธุรกิจขนาดย่อย SMEs แลกเปลี่ยนข้อมูลการค้า นโยบายและพิธีศุลกากร (2) กรอบความร่วมมือสัญญาว่าจ้างติดตั้งระบบ Digitalization และ Visualization ในการวิเคราะห์ข้อมูล ระหว่างบริษัท PTT GC กับ Dassault System และ (3) บันทึกความเข้าใจว่าด้วยการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ Smart City ระหว่างบริษัท Loxley กับ POMA เพื่อสะท้อนให้เห็นถึงพลังของภาคเอกชนในการขับเคลื่อนความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างไทยกับฝรั่งเศส
  • การแลกเปลี่ยนความตกลงสัญญากรอบการร่วมทุนระหว่าง การบินไทย กับ Airbus Commercial Aircraft “โครงการศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยานอู่ตะเภาโดยคาดว่าจะเปิดบริการในปี 2022 ถือเป็นการใช้สนามบินอู่ตะเภาเป็น ศูนย์กลางของอุตสาหกรรมการบิน ของย่าน ASEAN เพราะตั้งอยู่ในเขต EEC"
  • สัญญาซื้อขายดาวเทียมธีออส 2

ขอขอบคุณข้อมูลจาก
  • กระทรวงการต่างประเทศ, www.mfa.go.th/
  • เดลินิวส์, www.dailynews.co.th
  • ศาสตราจารย์ ดร. จุลชีพ ชินวรรโณ, วิชา ความสัมพันธ์นโยบายระหว่างประเทศของไทย ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560
  • BBC News บีบีซีไทย, www.bbc.com/thai
  • CNN
  • AFP 
  • Thairath 
  • Voice TV, https://www.voicetv.co.th/read/266964

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น