วันอังคารที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2560

สหรัฐโจมตีซีเรียได้ ก็โจมตีเกาหลีเหนือได้เช่นกัน !



สหรัฐโจมตีซีเรียได้ ก็โจมตีเกาหลีเหนือได้เช่นกัน !



ตั้งแต่ที่ซีเรียกลายเป็นสมรภูมิรบแห่งใหม่ของสองมหาอำนาจอย่าง สหรัฐและรัสเซีย สถานการณ์ล่าสุดหลังจากที่โดนัล ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐ สั่งยิงขีปนาวุธ โทมาฮอว์คใส่ฐานทัพอากาศซีเรีย โจมตีคลังน้ำมันและฐานทัพอากาศ เพื่อตอบโต้ซีเรียที่ใช้อาวุธเคมีคร่าชีวิตพลเรือนกว่าร้อยชีวิต

การกระทำของสหรัฐชัดเจนว่าเป็นการดึงชนวนความขัดแย้งให้เกิดวงกว้างมากขึ้น ดูได้จากสัมภาษณ์ของทรัมป์ ที่เชิญชวนชาติอื่นให้ร่วมกันต่อต้านการกระทำของซีเรีย ซึ่งผลตอบรับชาติที่สนับสนุนทรัมป์ คือ อังกฤษ, ฝรั่งเศส, ซาอุดีอาราเบีย, ออสเตรเลีย, อิสราเอล และชาติที่คัดค้านการถล่มซีเรียคือ รัสเซีย, จีน, อิหร่าน
                                                                              
ภาพ ทรัมป์ขณะกล่าวเชิญชวนชาติอื่นสนับสนุนสหรัฐ (BBC)

แน่นอนว่าด้านรัสเซียก็ไม่ยอมเช่นกัน ส่งเรือรบ แอดไมรอล กรีกอโรวิช มุ่งหน้าสู่ซีเรียตอบโต้สหรัฐเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ประธานาธิบดี วลาดิเมียร์ ปูติน ของรัสเซีย กล่าวว่า ที่สหรัฐทำเป็นการกระทบความสัมพันธ์ระหว่างรัสเซียกับสหรัฐอย่างยิ่ง รวมทั้งรัสเซียขอระงับข้อตกลงในบันทึกความเข้าใจร่วมกัน เกี่ยวกับการป้องกันความขัดแย้งกับกองทัพสหรัฐ​ ในซีเรีย

กรณีรัสเซียถือว่าต่างจากสหรัฐตรงที่ รัสเซียคอยให้การสนับสนุนรัฐบาลเผด็จการของประธานาธิบดี อัล อัสซาด ซึ่งครองอำนาจเกือบ 20 ปีนับแต่ได้รับเลือกสมัยแรกปี 2000 หลายปีมานี้สหรัฐพยายามเปลี่ยนประธานาธิบดีซีเรีย แต่ล้มเหลวมาตลอด

เกิดคำถามว่า "เกาหลีเหนือ" จะเป็นเป้าหมายต่อไปของสหรัฐหรือไม่ ?.......


เป็นไปตามคาด ! สหรัฐได้ส่งเรือรบพร้อมอาวุธจากสิงคโปร์มุ่งหน้าไปยังคาบสมุทรเกาหลี ฝั่งเกาหลีเหนือต่างก็ไม่ยอม ออกมาโต้ตอบว่าจะป้องกันการคุกคามของสหรัฐด้วยอาวุธอันทรงอนุภาพของตน โดยเกาหลีเหนืออ้างว่า กรณีสหรัฐโจมตีซีเรีย พิสูจน์ได้แล้วว่ากาหลีเหนือยังต้องเดินหน้าพัฒนานิวเคลียร์ เพื่อป้องกันสหรัฐรุกรานอธิปไตย

                ทางด้านจีนที่คอยสนับสนุนกาหลีเหนือมาตลอดว่าอย่างไร


ทราบโดยทั่วกันแล้วว่าทรัมป์ และประธานาธิบดี สี จิ้นผิง ของจีน ได้มีการพูดคุยพบปะกันล่าสุด ซึ่งสหรัฐเปิดเผยว่าฝั่งจีนเห็นด้วยว่าเกาหลีเหนือเริ่มมีก้าวร้าวขึ้นเรื่อยๆ แม้ยังไม่มีการหารืออย่างเป็นทางการ แต่หลังจากที่สหรัฐส่งเรือมุ่งหน้าสู่คาบสมุทรเกาหลี ทรัมป์ก็ได้กล่าวชัดเจนว่า สหรัฐพร้อมที่จะแก้ปัญหาเรื่องเกาหลีเหนือ แม้ปราศจากจีน ขณะเดียวกัน  ทูตระดับสูงด้านนิวเคลียร์ของจีนได้เดินทางถึงเกาหลีใต้ เพื่อหารือกับเกาหลีใต้เรื่องการคุกคามของเกาหลีเหนือ

ทำไมสหรัฐทำเช่นนี้ได้ เพราะการกระทำเช่นนี้ถือเป็นการละเมิดอำนาจอธิปไตยของซีเรีย


หากวิเคราะห์ในมุมของ ทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

เราสามารถวิเคราะห์ได้ในมุมมองของ Normative IR หรือ การตัดสินการเมืองโลกบนพื้นฐานของศีลธรรม  โดยใช้มนุษย์ เป็นที่ตั้ง หากมนุษย์ถูกละเมิดชีวิต ทรัพย์สิน ถือว่าเป็นเรื่องผิด

เช่นเดียวกับกรณีสหรัฐ เมื่อรัฐบาลซีเรียใช้อาวุธเคมีกับประชาชนถึงขั้นเสียชีวิต สหรัฐสามารถอ้างหลัก Cosmopolitanism พลเมืองโลกนิยม ซึ่งให้ความชอบธรรมกับสหรัฐในการเข้าไปแทรกแซงซีเรียได้ โดยการใช้วาทกรรม สงครามอันชอบธรรม ได้

Cosmopolitanism พลเมืองโลกนิยม คืออะไร ?


                กล่าวโดยสรุป คือ เป็นการยึดหลักปฏิบัติร่วมกันทุกรัฐ โดยไม่คำนึงถึงเขตพรมแดนรัฐ เชื่อว่าควรมีรัฐบาลโลกคอยดูแลทุกๆรัฐในโลก ดังนั้นหากมีรัฐใดละเมิดหลักปฏิบัตินั้น การเข้าไปแทรกแซงจึงถือเป็นเรื่องชอบธรรม #หลักปฏิบัติที่ทั่วโลกยึดถือร่วมกันในที่นี้คือ หลักประชาธิปไตย หลักสิทธิมนุษยชน

วิเคราะห์ในกรณี สหรัฐยิงขีปนาวุธ โทมาฮอร์คใส่ฐานทัพซีเรีย


การกระทำของสหรัฐถือว่าชอบธรรมได้ เพราะ

ü  แนวคิด พลเมืองโลกนิยมให้ความชอบธรรมสหรัฐ : สหรัฐสามารถแทรกแซงซีเรียได้ เพราะรัฐบาลเผด็จการซีเรียกระทำการที่โหดร้าย คร่าชีวิตพลเรือน ซึ่งละเมิดหลักสิทธิมนุษยชน 

ü  Just War Tradition : หลักการเข้าไปแทรกแซง โดยใช้การเข้าทำสงครามอันชอบธรรม

อย่างไรก็ตามหลายครั้งสถานการณ์ถูกอ้างอิงถึงความชอบธรรม โดยใช้เป็นข้ออ้างหลังจากกระทำไปแล้ว บางครั้งเป็นการนำอคติของสังคมตะวันตก เข้าไปตัดสินในบริบทตะวันออก ดังนั้นการตัดสินบนพื้นฐานความชอบธรรมไม่มีอะไรถูก ผิด แต่ควรมองว่ามุมไหนส่งผลเลวร้ายน้อยที่สุด

ทั้งนี้ทั้งนั้นสถานการณ์หนึ่งเรามาสามารถวิเคราะห์โดยใช้ทฤษฎีที่แตกต่างกันออกไปได้ ทฤษฎี Normative IR ถือเป็นตัวอย่างหนึ่งที่ประสงค์จะให้ทุกๆคนมองสถานการณ์ได้เข้าใจมากยิ่งขึ้น

ทิ้งท้ายเช่นเดิม รู้หรือไม่……..

-          เมื่อสมัยปี 2013 ทรัมป์ได้เคยทวิตห้ามโอบาม่าโจมตีซีเรีย และระหว่างหาเสียงปี 2016 ได้โจมตีฝั่งนางคลินตัน เรื่องนโยบายโจมตีซีเรียเช่นกัน พร้อมกล่าวว่าการปราบ IS พร้อมการโค้นล้มรัฐบาลอัสซาดไปด้วย เป็นเรื่องไร้สาระ แต่ถึงครั้งนี้ 2017 คราวที่ทรัมป์ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี เขาก็ได้สั่งโจมตีฐานทัพอากาศซีเรียเสียเอง

-          เร็กซ์ ทิลเลอร์สัน รมว.ต่างประเทศสหรัฐ เตือนประเทศอื่นไว้ว่า หากไม่เคารพกฎหมายระหว่างประเทศ หรือก่อภัยคุกคาม ก็อาจจะโดนแบบซีเรียเป็นตัวอย่าง…..

-          ทูตสหรัฐประจำUNยอมรับ เป้าหมายอันดับหนึ่งของสหรัฐตอนนี้คือการโค่นรัฐบาลซีเรีย ปลดนายอัสซาด


#หมายเหตุ เรื่องทฤษฎีความจริงเนื้อหาจะละเอียดกว่านี้นะคะ แต่ไม่ลงลึกและมากความ กังวลว่าลงลึกเวลาอ่านอาจจะเกิดการสับสนขึ้น ใครที่สงสัยว่าIRเรียนอะไร เรียนวิเคราะห์แบบนี้เลยค่ะ นี่เป็นแค่1ในร้อย(?)เท่านั้นนนน หากใครอยากทราบรายละเอียดพิ่มเติมทักไปถามได้เลยค่าาา


ขอขอบคุณข้อมูลดีๆ อ่านเพิ่มเติมได้ที่
      Twitter @AFP
@pannikawanich
@pui_tuangporn
@suthichai
@theNuntiorum

วันเสาร์ที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2560

เทเรซา เมย์ ปะทะด้วยสกอตแลนด์ 

 

ภาพ ขณะนางเทเรซา เมย์ นายกรัฐมนตรีอังกฤษแถลงการยื่นจดหมายเข้าสู่กระบวนการในสภายุโรป (BBC)


           หลังจากผลประชามติออกมาว่า สหราชอาณาจักรต้องการที่จะออกจากการเป็นสมาชิกของสหภาพยุโรป ล่าสุดนางเทเรซา เมย์ (Theresa May) นายกรัฐมนตรีอังกฤษนำสหราชอาณาจักรเข้าสู่กระบวนการถอดถอนตามมาตราที่ 50 ของสนธิสัญญาลิสบอน ซึ่งใช้ระยะเวลาเข้าสู่กระบวนการ 2 ปี 
           ปฏิกิริยาจากฝั่ง สกอตแลนด์ 1ในประเทศในเครือจักรภพ ต้องการที่จะแยกตัวเป็นเอกราชออกจากสหราชอาณาจักร ซึ่งปฏิกิริยานี้มีตั้งแต่ช่วงที่สหราชอาณาจักรเองจัดประชามติเมื่อปี2016ที่ผ่านมา ผลในครั้งนั้นออกมาว่าชาวสกอตแลนด์กว่าร้อยละ60 ต้องการที่จะอยู่ต่อในสหภาพยุโรป ในครั้งนี้นายกรัฐมนตรีสกอตแลนด์ นางนิโคลา สเตอร์เจี้ยน (Nicola Sturgeon) ได้ยื่นหนังสือต่อนายกรัฐมนตรีอังกฤษ ว่าประสงค์จะทำประชามติออกจากสหราชอาณาจักรอีกรอบ เพราะแน่นอนว่าการออกจากสมาชิกสหภาพยุโรป เท่ากับว่าออกจากการเป็นตลาดเสรีเดียวกันด้วย ชาวสกอตแลนด์ส่วนใหญ่อาจได้รับผลกระทบด้านเศรษฐกิจ การลงทุน การศึกษา การประกอบอาชีพ หรือจะเป็นสวัสดิการสังคมต่างๆที่เคยได้รับเมื่อเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป ภายในระยะเวลาที่กำลังเข้าสู่กระบวนการ2ปีนับจากนี้จึงเป็นช่วงเวลาสำคัญ ที่ชาวสกอตแลนด์ยังสามารถเลือกเปลี่ยนอนาคตตนเองได้ โดยนายกสกอตแลนด์ยังบอกไว้อีกว่าหากทางอังกฤษขัดขวาง จะถือเป็นการจำกัดสิทธิ ซึ่งไม่เป็นประชาธิปไตย ขณะที่ฝั่งเทเรซา เมย์เองกล่าวให้ความเห็นว่าการประชามตของสกอตแลนด์ควรรอให้กระบวนการ เสร็จสมบูรณในอีก2ปีก่อน 
          ปฏิกิริยาทางฝั่งสหภาพยุโรปเอง ประธานกรรมาธิยุโรปอย่างนาย ดอนัลต์ ตุสก์ (Donald Tusk) ได้ออกแถลงการณ์แสดงความยินดี และขอบคุณสำหรับการเป็นสมาชิกของสหราชอาณาจักรที่ผ่านมา โดยภายใน 48ชม. เขาจะส่งเอกสารที่ยื่นมานี้ให้แก่ 27ประเทศสมาชิก EU ที่เหลือ เพื่อการเรจากัน ส่วนฝั่งเยอรมนี 1ในประเทศผู้นำด้านเศรษฐกิจของ EU รัฐมนตรีต่างประเทศเยอรมัน ได้กล่าวว่า ความสัมพันธ์ของอังกฤษและเยอรมนียังคงเป็นเช่นเดิม และหวังว่าความสัมพันธ์ใหม่ระหว่างอังกฤษและ EU จะคุยกันได้ราบรื่นเช่นเดิม แม้จะมีการค่อนขอดไว้ว่า "....อย่างไรก็ดีสหราชอาณาจักรกล้าที่จะทำเช่นนี้ ท่ามกลางสภาวะความไม่มั่นคงในโลกได้อย่างไร..." 


 ทิ้งท้ายไว้ให้คิด....  

        - เหตุผลที่สหราชอาณาจักร ซึ่งนำโดยอังกฤษ ต้องการออกจากสหภาพยุโรป (EU) ก็คงเป็นเหตุผลเดียวกันทีสกอตแลนด์ต้องการเป็นสมาชิกEU ต่อไป  

    ซึ่งเหตุผลหลักนั้น คงหนีไม่พ้น เหตุผลทางด้านเศรษฐกิจ ย้อนไปจุดประสงค์หลักของการก่อตั้ง EU ขึ้นมา คือการลดความขัดแย้ง แทนที่โดยการรวมตัวกันเป็นสหภาพทางเศรษฐกิจ มีตลาดร่วมกัน เคลื่อนย้ายทุน แรงงาน โดยเสรี ในสกุลเงินเดียวกัน ในส่วนของอังกฤษเองที่ไม่ได้ร่วมลงนามใน 'ข้อตกลงเชงเกน' ที่มีข้อตกลงเคลื่อนย้ายเสรีตั้งแต่แรก มีการใช้ค่าเงินปอนด์เป็นของตนเองอยู่แล้ว และมีเศรษฐกิจที่มั่นคงในตนเองระดับหนึ่ง ประกอบกับการเป็นสมาชิกของ EUนั้น แต่ละประเทศต้องจ่ายค่าสมาชิกให้สหภาพแต่ละปีจำนวนมหาศาล คนอังกฤษบางส่วนเกิดความคิดว่าเป็นการใช้เงินโดยเปล่าหรือไม่ ยิ่งไปกว่านั้นสถานการณ์เรื่องความมั่นคงในปัจจุบันจากการมีนโยายเปิดรับผู้ลี้ภัยของEUเอง ส่งผลให้ผู้คนส่วนหนึ่งเกิดความรู้สึกกลัวภัยก่อการร้ายที่เกิดขึ้นให้เห็นตามมาจากการกระทำของผู้อพยพ 

    ผู้คนอังกฤษส่วนใหญ่จึงตัดสินใจที่จะโหวตออกจากการเป็นสมาชิก EU ในที่สุด ตรงกันข้ามกับสกอตแลนด์ ประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจเล็กกว่า และยังต้องการที่จะพึ่งพาตลาดร่วมจาก EU คนสกอตแลนด์ส่วนใหญ่จึงต้องการที่จะอยู่เป็นสมาชิก EU ต่อไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งประชากรวัยทำงาน และนักเรียน นักศึกษาที่สามารถเคลื่อนย้ายไปตามประเทศสมาชิกต่างๆได้เสรี

       -ตามที่ทราบกันดีว่าการออกจาก EU นั้น เป็นกระบวนการที่มีผลบังคับใช้ทั้งสหราชอาญาจักร รวมทุกประเทศที่อยู่ในเครือจักรภพ

       -ความเห็นจากนักเศรษฐศาสตร์เห็นว่ามีผลเสียทางเศรษฐกิจมากกว่าที่คิด 

แม้หุ้น และค่าเงินปอนด์จะตกหลังจากผลประชามติออกมาเพียงเล็กน้อย และเศรษฐกิจของอังกฤษเองขณะนี้ยังคงอยู่ในระดับดี แต่นี่ยังเป็นการอยู่ในกระบวนการถอดถอน หากในระยะยาวคงจะเกิดผลเสียมากกว่านี้ 

      -การออกจาก EU ไม่มีผลต่อการเป็นสมาชิก NATO ของสหราชอาณาจักร 

 

ขอขอบคุณข้อมูลดีๆ อ่านต่อเพิ่มเติมได้ที่

 news.voicetv.co.th/world/476265.h 

twitter @theNuncius 

economist.com/blogs/buttonwo