วันเสาร์ที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2560

เกาหลีเหนือ เกาหลีใต้ In conflicts !



            สัปดาห์แรกของเดือมีนามคม เริ่มต้นด้วยข่าวความขัดแย้งระหว่างประเทศในเอเชีย      
                   
                 เริ่มด้วย ปัญหาภายในประเทศของเกาหลีใต้เองหลายเดือนที่ผ่านมา ตั้งแต่การถอดถอน พัค กึนเฮ ประธานาธิบดีคนล่าสุดของเกาหลีใต้ จากที่สภาเกาหลีใต้มีมติเป็นเอกฉันท์ถอดถอนให้พ้นจากตำแหน่งประธานาธิบดี (Impeachment) จากกรณีพัวพันการคอรัปชั่นหลายคดี จนประชาชนเกาหลีใต้ต้องออกมาประท้วงกันครั้งใหญ่ (สาเหตุการเดินขบวนประท้วงที่กินเวลาหลายเดือน มาจากหลายๆเรื่องตั้งแต่เรื่องคดีเรือเซวอลล่ม คดีนำเข้าเนื้อวัวที่มีโรค จนถึงความพยายามที่จะเปลี่ยนประวัติศาสตร์บิดาของตนเองจากดำให้เป็นขาว)

               ภาพคนเดินถือป้ายต่อต้านประธานาธิบดีพัค กึน เฮ (โดย The Associated Press)
              
กรณีสำคัญคือการที่ประธานาธิบดี ปล่อยให้เพื่อนสนิทเข้ามาแทรกแซงในการบริหารงานของรัฐบาล และการให้เพื่อนสนิทแอบอ้างใช้ตำแหน่งประธานาธิบดีให้บริษัทหลายแห่งบริจาคเงินแต่นำไปใช้เพื่อผลประโยชน์ส่วนตัว
                หลังจากการญัตติการถอดถอนออกมา ขณะนี้ประธานาธิบดีพัค ยังคงอยู่ในที่พักทำเนียบ รอกระบวนการศาลที่พิจารณาเวลาหลายเดือน
                โดยหากการถอดถอนมีกระบวนการพิจารณาออกมาเป็นทางการ พัค กึน เฮ จะถือว่าเป็นประธานาธิบดีคนแรกจากการเลือกตั้งของเกาลีใต้ที่ถูกกระบวนการ Impeachment   
                การเมืองภายในที่ระส่ำระส่ายยังไม่เพียงพอ การเมืองภายนอกก็ยังครุกกรุ่น เกาหลีใต้พบความขัดแย้งกับจีน ที่มาที่ไปคือหลังจากที่สหรัฐต้องการสร้างฐานขีปนาวุธ (THAAD) ที่เกาหลีใต้ จีนจึงเกิดความระแวงว่าจะเป็นฐานซุ่มโจมตีจีนหรือไม่ จึงโต้กลับด้วยมาตรการทางเศรษฐกิจ รวมถึงเรื่องการค้าแทน
ในปัญหาเรื่องเศรษฐกิจ การค้า จีนสั่งแบนธุรกิจแหล่งใหญ่หลายประเภทเกาหลีใต้ในจีน ทั้ง บริษัทรถยนต์ ฮุนได บริษัทเครือโรงแรม และเครื่องสำอาง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กลุ่มบริษัท ลอตเต้ กลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่อันดับต้นๆของเกาหลีใต้ ที่ให้ที่ดินสหรัฐในการติดตั้งขีปนาวุธ ส่งผลให้ห้างลอตแต้สาขาในจีน ไม่มีผู้คนมาใช้บริการ  ด้านการท่องเที่ยวทัวร์จีนทั้งหลายต่างถูกระงับในการเดินทางไปเกาหลีใต้ อย่างไรก็ตามฝั่งสถานทูตเกาหลีใต้ได้ออกมาประกาศว่ายังคงต้อนรับคนจีนในการทำวีซ่าได้ตามปกติ พร้อมยังเพิ่มการอำนวยความสะดวกมากขึ้น
                กรณีนี้ส่งผลให้หุ้นโซลร่วงติดลบ ทั้งยังเกิดการประท้วงห้างลอตเต้ในจีน ส่วนทางด้านสถานทูตเกาหลีใต้ได้ออกคำสั่งคุ้มครองพลเมืองเกาหลีใต้ในจีน
                จากการเมืองลามไปถึงเรื่องวัฒนธรรม อุตสาหกรรมเพลง K-Pop ของเกาหลีใต้ประสบปัญหาถูกแบนจากประเทศจีนเช่นกัน เป็นเวลาหลายเดือนแล้วตั้งแต่จีนมีคำสั่งห้ามศิลปินเกาหลีเปิดทำการแสดงในจีน ซึ่งจีนถือว่าเป็นตลาดเพลงที่ทำรายได้ให้กับเกาหลีใต้อย่างมาก

จากกรณีของเกาหลีใต้ และจีน หากนักท่องเที่ยวจีน นักท่องเที่ยวเกาหลีใต้ หรือศิลปินเกาหลี เข้ามาไทยเป็นพิเศษในช่วงนี้ คงไม่เป็นที่สงสัยกันเลยทีเดียว ไทยแลนด์แดนสมายด์ เป็นมิตรกับทุกประเทศ....... 


สถานการณ์ล่าสุดนางปาร์ค กึนเฮ ได้เดินทางไปรับฟังศาลศาลตัดสินคดีคอรัปชั่น ขณะนี้ถูกกักกันเดี่ยวเป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยปาร์คกึน เฮถือว่าเป็นประธานาธิบดีคนที่ 3 ของเกาหลีใต้ที่ถูกตัดสินคดีเช่นนี้



                     ภาพข่าว คิม จอง นัม ถูกพบว่าเสียชีวิตที่สนามบินกัวลาลัมเปอร์ (Reuters)

มาถึงฝั่งโสมแดงอย่างเกาหลีเหนือ นอกจากข่าวการพยายามพัฒนาขีปนาวุธแล้ว ข่าวใหญ่ในรอบหลายอาทิตย์นี้คงเป็นข่าวอื่นไม่ได้นอกจาก ข่าวการสังหาร นายคิม จองนัม พี่ชายต่างมารดาของผู้นำเกาหลีเหนือคนปัจจุบัน ที่มาเลเซีย
หลังจากเหตุการณ์นี้ความสัมพันธ์ระหว่างเกาหลีเหนือ-มาเลเซีย แย่ลงเรื่อยๆ ล่าสุดมาเลเซียมีคำสั่งให้ นายคัง ซอล เอกอัคราชทูตเกาหลีเหนือออกจากมาเลเซียภายใน 48 ชม. หลังจากที่เกาหลีเหนือวิจารณ์การสืบสวนคดีการสังหารครั้งนี้ว่าไม่โปร่งใส อาจมีการแทรกแซงจากชาติมหาอำนาจเพื่อลงโทษเกาหลีเหนือ และไม่ยอมออกมากล่าวขอโทษ ทางการมาเลเซียไม่พอใจ จึงสั่งขับทูตเกาหลีเหนือเป็น บุคคลไม่พึงปรารถนาและต้องออกจากประเทศภายใน 48 ชม.”


ต่อมาความเคลื่อนไหวล่าสุด(31มีนาคม2017)ทางการมาเลเซียได้ตกลงยอมส่งศพนายคิม จองนัมกลับเกาหลีเหนือโดยแลกกับการที่ทางการเกาหลีเหนือปล่อยตัวประกันชาวเมเลเซียที่ถูกกักกันอยู่ ณ กรุงเปียงยาง เมืองหลวงของเกาหลีเหนือ โดยอย่างไรก็ตามทางการมาเลเซียจะยังคงดำเนินการสืบสวนคดีกันต่อไป


สุดท้ายสถานการณ์ทางการเมืองของภายในประเทศจะเป็นเช่นไร คงต้องเป็นเรื่องที่ต้องติดตามกันต่อไป แต่สถานการณ์จะไม่ลุกลามบานปลายไปกว่านี้ หากไม่มีประเทศมหาอำนาจหรือประเทศที่สามยื่นมือเข้ามาปลุกปั่น หรือถือมือเข้ามากระทำเพื่อผลประโยชน์ของตนเอง


เก็บไว้ให้ทิ้งท้ายยย

การใช้มาตรการลงโทษทางด้านเศรษฐกิจ การท่องเที่ยว แบบนี้ ไม่ถือว่าเป็นการใช้อำนาจในด้าน Soft power เพราะ เป็นการใช้มาตรการลงโทษโดยการบังคับ (Coercion) ถือเป็นการใช้ Hard power ***หากเป็น Soft Power จะเป็นเรื่องการมีอิทธิพลทางด้านความคิดแทน  ตัวอย่างง่ายๆ เช่น American Pop Culture

ขอขอบคุณแหล่งข่าวดีๆ
http://m.posttoday.com/world/news/483577
http://www.matichon.co.th/news/389353
Twitter @forLUMIN
@Guitar_BBty