วันศุกร์ที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

กาตาลัน กับ ความเป็นไป แล้วเหตุใดผู้นำจึงลี้ภัยไปเบลเยียม



กาตาลุญญา กับ ความเป็นไป แล้วเหตุใดผู้นำจึงลี้ภัยไปเบลเยียม


 แคว้นกาตาลุญญา (Cataluña) หรือชื่อในภาษาอังกฤษว่า  แคทาโลเนีย (Catalonia ) เขตการปกครองหนึ่งของสเปน ที่กำลังเกิดข้อพิพาทในประเทศขณะนี้ เป็นแคว้นที่มีประวัติศาสตร์ความเป็นมายาวนาน  แต่แรกปัญหาเริ่มตั้งแต่สมัยช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่สเปนถูกปกครองโดยรัฐบาลเผด็จการ นายพล ฟรังโก  โดยมีนโยบายชาตินิยม ต่อต้านคอมมิวนิสต์ ขจัดความเป็นวัฒนธรรม ภาษา ท้องถิ่น และ เสรีภาพของพลเมือง

ทำไมแคว้นกาตาลันต้องการประกาศอิสรภาพจากสเปน

 

ภาพ : confavc 
ปัญหาจากการถูกกดทับอัตลักษณ์ของตนเองถือเป็นปัญหามายาวนาน เพราะกาตาลุญญามีความภาคภูมิใจในความเป็นท้องถิ่นตน มีภาษากาตาลันเป็นภาษาท้องถิ่นของแคว้น มีความเป็นอิสระสูงจากรัฐบาลกลาง ปัจจุบันเรื่องภาษาและวรรณกรรม ความเป็นอัตลักษณ์ จึงเป็นหนึ่งในแรงผลักดันให้ประชาชนชาวกาตาลันรู้สึกไม่ได้รับความเป็นธรรม ต้องการแสดงออกถึงความเป็นเสรีภาพของแคว้น

ปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจในยุโรปที่เรื้อรังมายาวนาน จากวิฤตหนี้สาธารณะยูโรโซนเมื่อปี 2008 ที่เกิดขึ้น ส่งผลต่อสถานะทางการเงินของยุโรปอย่างมาก สเปนหนึ่งในรัฐที่ประสบปัญหาต้องได้รับความช่วยเหลือจากภายนอก ต่างจากกาตาลัน แคว้นการปกครองที่มีสถานะร่ำรวย จึงเกิดความรู้สึกไม่พอใจที่จะต้องนำรายได้ของแคว้นไปช่วยเหลือโปะหนี้ของรัฐบาลกลางสเปน เพราะรายได้ของแคว้นนำไปให้รัฐบาลกลางคิดเป็นสัดส่วนถึง 1 ใน 5 ชาวกาตาลันจึงมีความเชื่อมากไปอีกว่า หากแคว้นประกาศอิสรภาพจากสเปนได้เมื่อไหร่ ความมั่งคั่งของแคว้นจะยิ่งทวีคูณมากขึ้นไปอีก

ไม่เพียงแต่เป็นเรื่องของการเมือง ภาษา หรือเศรษฐกิจที่ชาวกาตาลันแตกต่างจากประเทศสเปน ชาวกาตาลันเองยังมีสิ่งที่พวกเขาภาคภูมิใจอย่าง อาหาร ร้านอาหารชื่อดังอย่าง “El Celler de Can Roca” ติดอันดับ 1 ร้านอาหารที่ดีที่สุดของโลกในปี 2013 อีกทั้งยังเป็นอันดับ 3 ในปีนี้ และการแข่งขันฟุตบอลนัด “El Clásico” หรือ อัลกลาซิก ที่มีชื่อเสียงระดับโลกระหว่าง บาร์เซโลน่า และ มาดริด ถือเป็นความภาคภูมิใจหนึ่งของชาวกาตาลัน เพราะอาจกล่าวเชิงการเมืองได้ว่า  มาดริดเป็นตัวแทนของชาวสเปน ส่วน บาร์เซโลนาเป็นตัวแทนของ ชาวคาตาลัน

            เหตุใดการทำประชามติเกิดขึ้นในช่วงนี้


ความจริงแล้วต้องย้อนกลับไปตั้งแต่ช่วงปี 2014 ได้มีการทำประชามติสอบถามความต้องการของประชาชนในการแยกดินแดนเป็นอิสระ เกิดขึ้นจากการผลักดันของรัฐบาลท้องถิ่นฝ่ายสนับสนุนการแบ่งแยกดินแดน อย่างไรก็ตาม แม้ผลโหวตออกมาว่า 80% ของชาวกาตาลันต้องการแยกประเทศ แต่รัฐบาลกลางสเปนกลับถือเป็นโมฆะตามรัฐธรรมนูญ ไม่ยอมรับผลการเลือกตั้งที่เกิดขึ้น
ล่าสุดการทำประชามติเมื่อตุลาคม 2017 ที่ผ่านมา ยิ่งเพิ่มความตึงเครียดมากขึ้นไปอีก เมื่อรัฐบาลท้องถิ่นมีประชามติประกาศเอกราชแต่เพียงฝ่ายเดียว แต่ต่อมาศาลรัฐธรรมนูญของสเปนประกาศว่าคำประกาศนั้นเป็นโมฆะ พร้อมประกาศใช้มาตรา 155 ปลดสภาท้องถิ่นกาตาลัน 

·        มาตรา 155 ตามรัฐธรรมนูญสเปนนี้ หมายความว่า สภาท้องถิ่นของกาตาลุญญา สิ้นสภาพตามรัฐธรรมนูญสเปนเป็นที่เรียบร้อย พร้อมยึดอำนาจและยุบสภาท้องถิ่น หากยังคงดื้อดึง อาจถูกดำเนินคดีข้อหากบฏได้ และประกาศเลือกตั้งใหม่ในวันที่ 21 ธันวาคม

·        แต่ชาวกาตาลัน ไม่สนใจ ถือว่า กาตาลูญญาพ้นอำนาจจากรัฐบาลกลางแล้ว 

ทางฝ่ายสเปนเอง ประชาชนสเปนนับล้านต่างออกมาชุมนุม เดินขบวนชูธงประเทศสเปน พร้อมประกาศสนับสนุน รัฐบาลกลางสเปน และไม่เห็นด้วยกับการแบ่งแยกดินแดน 

                ปฏิกิริยาจากนานาชาติต่อสถานการณ์เป็นเช่นไร

 โดยนานาชาติส่วนใหญ่นั้น มีปฏิกิริยาที่แตกต่างกันออกไป  


  •          รัฐบาลสกอตแลนด์ ที่มีจุดประสงค์คล้ายกัน เพราะสกอตแลนด์ประสงค์ที่จะแยกประเทศเป็นอิสระจากเครือจักภพในปี 2014 เช่นกัน สนับสนุนและเคารพจุดยืนรัฐบาลท้องถิ่นกาตาลัน พร้อมเห็นด้วยที่ประชาชนจะมีเสรีภาพในการกำหนดชะตาชีวิตตนเอง

  •            สหรัฐอเมริกาเอง กระทรวงการต่างประเทศ ประกาศว่า กาตาลูญญา ยังคง เป็น ส่วนหนึ่งของ สเปน พร้อมเร่งให้สเปนแก้ปัญหาสถานการณ์โดยเร็ววัน

  •         องค์การระหว่างประเทศอย่าง ‘NATO’ ให้ความเห็นว่า การประกาศเอกราชเป็นเรื่องภายในประเทศ รัฐบาลกลางของสเปนควรแก้ปัญหาเองภายใน โดยไม่มีการถูกแทรกแซง

-            และหากไม่พูดถึงก็คงจะไม่ได้อย่าง รัฐบาลอังกฤษ ที่เพิ่งประสบกรณี #Brexit  แถลง ไม่ยอมรับ การประกาศเอกราชของกาตาลุญญา
-           

                เหตุใดจึงหนีไปเบลเยียม


สถานการณ์ล่าสุด รัฐบาลกลางสเปนได้ตั้งข้อหา  นาย Carles Puigdement ประธานาธิบดีกาตาลูญญาพร้อมกับพวกในข้อหากบฏ ข้อหาปลุกระดมทางการเมืองเพื่อสร้างความแตกแยก การใช้งบประมาณ และอำนาจรัฐในทางมิชอบ อีกทั้งขณะนี้ประธานาธิบดีเองได้หนีไปที่กรุงบรัสเซลส์ เบลเยียมเรียบร้อยแล้ว ทิ้งให้ประชาชนที่สนับสนุนต้องฝันค้าง พร้อมให้สัมภาษณ์กับสื่อว่า ไม่ใช่เป็นการลี้ภัยทางการเมือง แต่เพียงต้องการเสรีภาพของตนเท่านั้น พร้อมต้องการแสดงจุดยืนของตนต่อประเทศยุโรปอื่นๆ เพราะ กรุงบรัสเซลส์ เบลเยียม เป็นที่ตั้งของสหภาพยุโรปนั่นเอง และจะกลับไปหากได้รับความยุติธรรม และสัมภาษณ์ว่าจะกลับไปเลือกตั้ง 21 ธันวาคมนี้ แน่นอน       


ภาพ : Nation TV

     

ตามกฎหมายพลเมืองยุโรปทุกคนมีสิทธิอยู่ในเบลเยียมได้ 90 วันโดยไม่ต้องใช้เอกสารใดๆ แต่สามารถยื่นเรื่องขออยู่ต่อเพิ่มได้  อีกวิธีคือการเดินทางไปยัง เนเธอแลนด์หรือฝรั่งเศสก่อน แล้วจึงกลับเข้ามาเบลเยียมอีกครั้ง จะถือว่าเริ่มนับวันใหม่ได้ ยกเว้นแต่มีการออกหมายประกาศจับไปทั่วยุโรปแล้ว ก็คงต้องส่งตัวกลับไปดำเนินคดีที่สเปนตามระเบียบ

อย่างไรก็ตามแม้มีการเลือกตั้งใหม่เกิดขึ้น แต่ความขัดแย้งภายในสเปนก็ยังคงไม่คลี่คลาย เพราะภายในกาตาลันเองประชาชนยังคงมีความเห็นต่างกัน ล่าสุดประชาชน 40% ต้องการแยกประเทศ และอีก 76% ต้องการให้มีการลงประชามิตอย่างเป็นทางการ โดยมีรัฐบาลกลางสเปนอนุมัติ

โดยชัดเจนแล้วว่าจะมีการเลือกตั้งครั้งใหม่เกิดขึ้นโดยมีทั้งพรรคการเมืองที่สนับสนุนการแยกประเทศ และประชาชนที่คัดค้าน เราคงต้องลุ้นกันต่อไปว่าผลการเลือกตั้งจะออกมาเป็นเช่นไร หากรัฐบาลที่สนับสนุนการแย่งแยกดินแดน ได้รับเลือกตั้งขึ้นมาอีกครั้ง สถานการณ์การเมืองของสเปนจะดำเนินต่อไปเช่นไร

สถานการณ์ในสเปนจะเป็นอย่างไร หลังจากที่ประธานาธิบดีกาตาลันและกลุ่มรัฐมนตรี ถูก EU ออกหมายจับ เราทุกคนยังต้องติดตามกันอย่างใกล้ชิดจนกว่าจะถึงวันเลือกตั้งครั้งใหม่

ขอขอบคุณแหล่งข้อมูลดีๆจาก
Twitter @NunciusTerrarum
NationTV @KittiSmit




วันพุธที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2560

สรุปข่าวประจำเดือน ก.ค. ! Hot Topics de juillet !

 

Hot Topics de juillet !

     มาติดตามย้อนหลังกันว่าข่าวต่างประเทศที่น่าสนใจประจำเดือนกรกฎาคม มีอะไรบ้าง..... 


1.     รัสเซียลดจำนวนเจ้าหน้าที่การทูตสหรัฐในรัสเซียลง ตอบโต้หลังวุฒิสภาสหรัฐผ่านร่างกฎหมายคว่ำบาตรรัสเซียของประธานาธิบดีทรัมป์

การออกกฎหมายของสหรัฐเป็นผลจากการตอบโต้รัสเซียในวิกฤติการณ์ไครเมียร์ 2014 และการแทรกแซงการเลือกตั้งสหรัฐที่ผ่านมา 


                                                                                                      (ภาพ AP)

2.    การประกาศข้อตกลง หยุดยิงชั่วคราวในตอนใต้ของซีเรีย นำโดยสหรัฐ รัสเซีย ในการประชุม G20 ที่ผ่านมา



3.     ลิเบีย เริ่มกระบวนการสันติภาพในประเทศ 

หลังคู่ปฏิปักษ์ทั้ง 2 ฝ่าย เตรียมเจรจาหยุดยิงและเสนอแผนการเลือกตั้ง เพื่อจัดตั้งรัฐบาลเอกภาพใหม่

 

      4.     เดือนกรกฎาคม ครบรอบ 6 เดือน การทำงานของโดนัล ทรัมป์ บนเก้าอี้ประธานาธิบดีสหรัฐ

โดยสำนักข่าว CNN ได้รวบรวมผลงานของเขาไว้เป็นสถิติที่น่าสนใจ ดังเช่น  คะแนนนิยมของทรัมป์ลดลงต่ำสุดในรอบ 70 ปีของสหรัฐ
 
         
          -จัดแถลงข่าวเพียงแค่ 1 ครั้ง แต่เดินสายปราศรัยนโยบายถึง 5 ครั้ง ยิ่งไปกว่านั้น นักข่าวทุกสำนักต่างถูกห้ามนำกล้องเข้าไปในทำเนียบขาว


         -ออกกฎหมาย 42 ฉบับ โดยส่วนมากนั้นมาจากการใช้อำนาจในคำสั่งประธานาธิบดีคำสั่งสำคัญ : การออกกฎหมายสั่งแบนชาวมุสลิมเข้าสหรัฐ
        -กฎหมายฉบับใหญ่ 0 ฉบับ
        -กฎหมายที่น่าจับตามอง : กฎหมายปฏิรูปภาษี กฎหมายแทนที่ Obamacare และล่าสุดวุฒิสภาได้โหวตล้มกฎหมายที่จะมาแทน Obamacare แล้ว

 รวมไปถึงการถอนตัวสหรัฐออกจาก ความตกลงร่วมนานาชาติที่เป็นผลงานการบริหารงานสมัยประธานาธิบดีโอบาม่า คือ ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (TPP) และ ความตกลงปารีสว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ  

การตอบโต้ของฝรั่งเศสในสมัยของประธานาธิบดีคนใหม่ Macron เสนอเชิญชวนให้นักวิจัยเรื่องโลกร้อนของสหรัฐมาทำงานวิจัยที่ฝรั่งเศสแทน โดยพร้อมสนับสนุนทุนวิจัย

คำสั่งแบนคนอเมริกันห้ามไปเที่ยวเกาหลีเหนือ มีผลบังคับใช้ 27 ส.ค. นี้
หลังจากการเสียชีวิตของนักศึกษาอเมริกันที่ถูกควบคุมตัวในเกาหลีเหนือเมื่อปีที่แล้ว จากข้อหาขโมยแผ่นโปสเตอร์จากโรงแรมที่พัก ขณะไปท่องเที่ยว  และได้รับคำพิพากษาให้ใช้แรงงานหนักเป็นเวลา 15 ปี และต่อมา ทางการเกาหลีเหนือได้ปล่อยตัวเขากลับมายังสหรัฐเมื่อเดือนที่แล้ว ด้วยการอ้างเหตุผลทางมนุษยธรรม แต่ขณะนั้นอาการของเขาอยู่ในขั้นโคม่า และได้เสียชีวิตลงเมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา

ล่าสุด ประธานาธิบดีทรัมป์ ได้ประกาศในทวิตเตอร์ว่า กองทัพสหรัฐ จะไม่อนุญาตให้บุคคลข้ามเพศเป็นทหารในกองทัพ ด้วยการอ้างเหตุผลค่าใช้จ่ายทางการแพทย์


5.    เกาหลีเหนือกับการพิสูจน์ศักยภาพ ยิงขีปนาวุธพิสัยไกลข้ามทวีป(ICBM)ถือว่าไกลที่สุด โดยยิงได้ทุกที่ในสหรัฐ






6.       นายกรัฐมนตรีอิรักประกาศชัยชนะต่อกลุ่ม IS ในเมือง Mosul
หลักจากที่ Mosul เมืองใหญ่อันดับ 2 ของอิรัก ต้นเดือนก..ที่ผ่านมา กองทัพของอิรักใช้เวลาก่อนหน้าถึง 9 เดือน ในการขับไล่กลุ่ม IS ออกไปจากพื้นที่ พร้อมกับสภาพความเสียหายภายในเมืองหลังจากถูกยึดครองโดย IS ถึง 3 ปี


7.       กาตาร์หลังเจอวิกฤต
กาตาร์และสหรัฐได้ลงนามความร่วมมือต่อต้านการก่อการร้าย ขณะการเยือนของรัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐ งRex Tillerson และรัฐมนตรีต่างประเทศกาตาร์
ก่อนหน้าหลังจากที่กาตาร์ถูกตัดความสัมพันธ์จากประเทศกลุ่มอาหรับ เช่น อียิปต์ ซาอุดิอาราเบีย บาห์เรน  และสหรัฐอาหรับอิมิเรตส์ ตัดความสัมพันธ์ทางการค้า
หลักจากการถูกตัดความสัมพันธ์ ภายในประเทศกาตาร์เองได้ประสบปัญหาขาดแคลนอาหารที่ส่วนใหญ่นำเข้ามาจากซาอุฯ ขณะที่สายการบิน Qatar Airways ถูกระงับเที่ยวบินไปซาอุฯเช่นกัน ขณะเดียวกันก็มีนักลงทุนจากประเทศอื่นในแถบนี้มาลงทุนในกาตาร์ กลุ่มแรงงานโดยเฉพาะจากอียิปต์เข้าไปทำงานในกาตาร์ เท่ากับว่า วิกฤติครั้งนี้ประสบปัญหาทั้งฝ่ายที่ถูกกดดันและฝ่ายที่กดดัน เพราะกาตาร์เป็นประเทศเล็กๆที่นำเข้าคนทำงานจากนอกประเทศเป็นหลัก
ล่าสุด(2..)ท่ามกลางสถานการณ์ความขัดแย้ง ความเคลื่อนไหวภายในกาตาร์เอง ได้ประกาศสั่งเรือรบจำนวน 7 ลำ มูลค่ากว่า 5พันล้านยูโรจากอิตาลี 
สำหรับสาเหตุการตัดเยื่อใย
หลายฝ่ายมองว่าเป็นผลมาจากการเยือนซาอุฯของประธานาธิบดีทรัมป์เมื่อเดือนพ.. จากการเจรจาความสัมพันธ์ระหว่างกันเรื่องน้ำมัน ที่สหรัฐได้ประโยชน์ ขณะที่กลุ่มประเทศอาหรับได้รับการคุ้มครองความปลอดภัย
โดยซาอุฯให้เหตุผล กล่าวหากาตาร์ว่าคอยสนับสนุนกลุ่มก่อการร้ายที่มีอิหร่านอยู่เบื้องหลัง กลุ่มภราดรภาพมุสลิม รวมถึงกบฏฮูธีในเยเมน ซึ่งซาอุฯและอิหร่านมีความบาดหมางกันอยู่ ซาอุฯนั้นพยายามลดการขึ้นมามีบทบาทของอิหร่านในภูมิภาคอาหรับ อย่างไรก็ตามภายหลังกาตาร์ได้ออกมาปฏิเสธข้อกล่าวหาทั้งหมดนี้แล้ว

ก่อนที่จะสับสนกับความสัมพันธ์ไปมากกว่านี้ เรามาดูวงจรความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเพื่อความกระจ่างมากยิ่งขึ้น

กาตาร์ เป็น พันธมิตร อิหร่าน
มีความสัมพันธ์ที่ดีทางการค้าร่วมกัน อีกทั้งกาตาร์เป็นประเทศสุดท้ายที่ตัดความสัมพันธ์อิหร่าน(ปี2559)สาเหตุจากแรงกดดันซาอุฯ ด้านภูมิศาสตร์อิหร่านและกาตาร์ เป็นย่านที่มีก๊าซธรรมชาติสำรองมากที่สุดในโลก
อิหร่าน ขัดแย้งกับ สหรัฐฯ
สหรัฐฯ เป็นพันธมิตรมิตร ซาอุฯ :ยิ่งภายหลักการเยือนของประธานาธิบดีทรัมป์เดือนพ..ที่ผ่านมา ผ่านการลงนามยุทธศาสตร์การค้าและอาวุธร่วมกัน  
ซาอุฯ ขัดแย้งกับอิหร่าน : พยายามขัดขวางการขึ้นมามีอิทธิพลในภูมิภาค บางส่วนให้ความคิดเห็นว่ามาจากสาเหตุความขัดแย้งด้านนิกายศาสนาระหว่าง ชิอะห์(อิหร่าน) และ ซุนหนี่ (ซาอุฯ)

กาตาร์สนับสนุนกลุ่มก่อการร้ายจริงหรือ
กาตาร์นั้นเป็นประเทศที่ผู้ปกครองและสื่อหันไปให้การสนับสนุนประชาธิปไตยมากขึ้น อย่างกลุ่ม ภราดรภาพมุสลิม (Muslim Brotherhood)” ที่เป็นขบวนการที่สนับสนุนให้ชาวมุสลิมออกมาแสดงเสรีภาพเรื่องการศึกษาและการเคลื่อนไหวโดยเสรีประชาสังคมด้านต่างๆ กรณีตัวอย่างเช่นในอียิปต์ ต่อมากลุ่มภราดรภาพเข้ามามีบทบาทสมัครเข้าเล่นเมือง แต่ระบบปกครองเดิมของอียิปต์กลับมองว่ากลุ่มภราดรภาพนี้เป็นอุปสรรค ต้องปราบปราม โดยการจับมาขังคุก ทรมานต่างๆ กลุ่มคนบางกลุ่มที่ได้รับความกดดันจึงตัดสินใจแยกตัวออกไปจากกลุ่มเดิม พร้อมเปลี่ยนอุดมการณ์เดิมของกลุ่ม หันไปใช้ความรุนแรงแทน  
ซาอุฯและประเทศอื่นๆ ที่ปกครองด้วยระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ แน่นอนว่าต้องมอง กลุ่มภราดรภาพมุสลิมที่มีอุดมการณ์เสรีประชาธิปไตยเป็นภัยคุกคาม อาจปลุกระดมคนลุกขึ้นมาล้มระบอบการปกครองของตน   

หากมองในเรื่องนโยบายระหว่างประเทศ การกระทำของประเทศซาอุฯรวมถึงประเทศที่ปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ เรียกว่า Status Quo หมายถึง การกระทำของประเทศที่ต้องการรักษาสถานะเดิม ไม่ต้องการให้เกิดการเปลี่ยนแปลง(ระบอบการปกครอง)ในประเทศ ตรงกันข้ามกับ Revisionism ที่ต่อต้านสถานะเดิม ต้องการการเปลี่ยนแปลง (หากใช้กับรัฐใช้คำว่า ‘Revisionist State ตัวอย่างเช่น อิตาลีสมัยการปกครองของมุสโสลีนีช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 )

                ดังนั้นประเทศซาอุฯและประเทศพันธมิตรอื่นๆที่มีระบอบการปกครองเช่นเดียวกัน จึงสร้างสถานการณ์ให้กลุ่มภราดรภาพมุสลิมเป็นภาพลบในสายตาประชาชนภายนอกว่าเป็น ขบวนการก่อการร้าย
                ตัวอย่างที่เห็นได้ชัด คือ ขบวนการฮามาสในปาเลสไตน์ ที่ต่อต้านกลุ่มรัฐบาลกลางของอิสราเอล สหรัฐภายใต้การขึ้นมามีอำนาจของประธานาธิบดีทรัมป์ แม้จะแสดงความเป็นกลางต่อเรื่องปัญหาความขัดแย้งในโลกอาหรับขณะนี้ แต่หากมองความเป็นจริงแล้ว ระหว่างกาตาร์กับอิสราเอล แน่นนอนว่าสหรัฐต้องเลือกอิสราเอล (เหตุผลที่คนเชื้อชาติยิวส่วนใหญ่ในสหรัฐ บวกกับเรื่องข้อตกลงเรื่องธุรกิจน้ำมัน) 


ขอขอบคุณทุกคนที่สนใจอ่านถึงบรรทัดนี้นะคะ ทุกๆเนื้อหานั้นมาจากทั้งเนื้อหาข่าวจากสำนักข่าว ผสมกับการใช้หลักวิเคราะห์ของIR ที่ตัวเองเคยเรียนมา โดยระบุไว้ชัดเจนอยู่แล้ว หากใครคิดเห็นไม่ตรงกันประการใด ขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยค่ะ ให้ถือว่าเป็นวิจารณญาณส่วนบุคคล :)



ขอบคุณแหล่งข้อมูลจากทุกข่าว จาก
Pannika @ Voice TV
Aljazeera
@theTerrarum
CNN
AP
AFP
Reuters
The guardian


วันอังคารที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2560

สหรัฐโจมตีซีเรียได้ ก็โจมตีเกาหลีเหนือได้เช่นกัน !



สหรัฐโจมตีซีเรียได้ ก็โจมตีเกาหลีเหนือได้เช่นกัน !



ตั้งแต่ที่ซีเรียกลายเป็นสมรภูมิรบแห่งใหม่ของสองมหาอำนาจอย่าง สหรัฐและรัสเซีย สถานการณ์ล่าสุดหลังจากที่โดนัล ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐ สั่งยิงขีปนาวุธ โทมาฮอว์คใส่ฐานทัพอากาศซีเรีย โจมตีคลังน้ำมันและฐานทัพอากาศ เพื่อตอบโต้ซีเรียที่ใช้อาวุธเคมีคร่าชีวิตพลเรือนกว่าร้อยชีวิต

การกระทำของสหรัฐชัดเจนว่าเป็นการดึงชนวนความขัดแย้งให้เกิดวงกว้างมากขึ้น ดูได้จากสัมภาษณ์ของทรัมป์ ที่เชิญชวนชาติอื่นให้ร่วมกันต่อต้านการกระทำของซีเรีย ซึ่งผลตอบรับชาติที่สนับสนุนทรัมป์ คือ อังกฤษ, ฝรั่งเศส, ซาอุดีอาราเบีย, ออสเตรเลีย, อิสราเอล และชาติที่คัดค้านการถล่มซีเรียคือ รัสเซีย, จีน, อิหร่าน
                                                                              
ภาพ ทรัมป์ขณะกล่าวเชิญชวนชาติอื่นสนับสนุนสหรัฐ (BBC)

แน่นอนว่าด้านรัสเซียก็ไม่ยอมเช่นกัน ส่งเรือรบ แอดไมรอล กรีกอโรวิช มุ่งหน้าสู่ซีเรียตอบโต้สหรัฐเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ประธานาธิบดี วลาดิเมียร์ ปูติน ของรัสเซีย กล่าวว่า ที่สหรัฐทำเป็นการกระทบความสัมพันธ์ระหว่างรัสเซียกับสหรัฐอย่างยิ่ง รวมทั้งรัสเซียขอระงับข้อตกลงในบันทึกความเข้าใจร่วมกัน เกี่ยวกับการป้องกันความขัดแย้งกับกองทัพสหรัฐ​ ในซีเรีย

กรณีรัสเซียถือว่าต่างจากสหรัฐตรงที่ รัสเซียคอยให้การสนับสนุนรัฐบาลเผด็จการของประธานาธิบดี อัล อัสซาด ซึ่งครองอำนาจเกือบ 20 ปีนับแต่ได้รับเลือกสมัยแรกปี 2000 หลายปีมานี้สหรัฐพยายามเปลี่ยนประธานาธิบดีซีเรีย แต่ล้มเหลวมาตลอด

เกิดคำถามว่า "เกาหลีเหนือ" จะเป็นเป้าหมายต่อไปของสหรัฐหรือไม่ ?.......


เป็นไปตามคาด ! สหรัฐได้ส่งเรือรบพร้อมอาวุธจากสิงคโปร์มุ่งหน้าไปยังคาบสมุทรเกาหลี ฝั่งเกาหลีเหนือต่างก็ไม่ยอม ออกมาโต้ตอบว่าจะป้องกันการคุกคามของสหรัฐด้วยอาวุธอันทรงอนุภาพของตน โดยเกาหลีเหนืออ้างว่า กรณีสหรัฐโจมตีซีเรีย พิสูจน์ได้แล้วว่ากาหลีเหนือยังต้องเดินหน้าพัฒนานิวเคลียร์ เพื่อป้องกันสหรัฐรุกรานอธิปไตย

                ทางด้านจีนที่คอยสนับสนุนกาหลีเหนือมาตลอดว่าอย่างไร


ทราบโดยทั่วกันแล้วว่าทรัมป์ และประธานาธิบดี สี จิ้นผิง ของจีน ได้มีการพูดคุยพบปะกันล่าสุด ซึ่งสหรัฐเปิดเผยว่าฝั่งจีนเห็นด้วยว่าเกาหลีเหนือเริ่มมีก้าวร้าวขึ้นเรื่อยๆ แม้ยังไม่มีการหารืออย่างเป็นทางการ แต่หลังจากที่สหรัฐส่งเรือมุ่งหน้าสู่คาบสมุทรเกาหลี ทรัมป์ก็ได้กล่าวชัดเจนว่า สหรัฐพร้อมที่จะแก้ปัญหาเรื่องเกาหลีเหนือ แม้ปราศจากจีน ขณะเดียวกัน  ทูตระดับสูงด้านนิวเคลียร์ของจีนได้เดินทางถึงเกาหลีใต้ เพื่อหารือกับเกาหลีใต้เรื่องการคุกคามของเกาหลีเหนือ

ทำไมสหรัฐทำเช่นนี้ได้ เพราะการกระทำเช่นนี้ถือเป็นการละเมิดอำนาจอธิปไตยของซีเรีย


หากวิเคราะห์ในมุมของ ทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

เราสามารถวิเคราะห์ได้ในมุมมองของ Normative IR หรือ การตัดสินการเมืองโลกบนพื้นฐานของศีลธรรม  โดยใช้มนุษย์ เป็นที่ตั้ง หากมนุษย์ถูกละเมิดชีวิต ทรัพย์สิน ถือว่าเป็นเรื่องผิด

เช่นเดียวกับกรณีสหรัฐ เมื่อรัฐบาลซีเรียใช้อาวุธเคมีกับประชาชนถึงขั้นเสียชีวิต สหรัฐสามารถอ้างหลัก Cosmopolitanism พลเมืองโลกนิยม ซึ่งให้ความชอบธรรมกับสหรัฐในการเข้าไปแทรกแซงซีเรียได้ โดยการใช้วาทกรรม สงครามอันชอบธรรม ได้

Cosmopolitanism พลเมืองโลกนิยม คืออะไร ?


                กล่าวโดยสรุป คือ เป็นการยึดหลักปฏิบัติร่วมกันทุกรัฐ โดยไม่คำนึงถึงเขตพรมแดนรัฐ เชื่อว่าควรมีรัฐบาลโลกคอยดูแลทุกๆรัฐในโลก ดังนั้นหากมีรัฐใดละเมิดหลักปฏิบัตินั้น การเข้าไปแทรกแซงจึงถือเป็นเรื่องชอบธรรม #หลักปฏิบัติที่ทั่วโลกยึดถือร่วมกันในที่นี้คือ หลักประชาธิปไตย หลักสิทธิมนุษยชน

วิเคราะห์ในกรณี สหรัฐยิงขีปนาวุธ โทมาฮอร์คใส่ฐานทัพซีเรีย


การกระทำของสหรัฐถือว่าชอบธรรมได้ เพราะ

ü  แนวคิด พลเมืองโลกนิยมให้ความชอบธรรมสหรัฐ : สหรัฐสามารถแทรกแซงซีเรียได้ เพราะรัฐบาลเผด็จการซีเรียกระทำการที่โหดร้าย คร่าชีวิตพลเรือน ซึ่งละเมิดหลักสิทธิมนุษยชน 

ü  Just War Tradition : หลักการเข้าไปแทรกแซง โดยใช้การเข้าทำสงครามอันชอบธรรม

อย่างไรก็ตามหลายครั้งสถานการณ์ถูกอ้างอิงถึงความชอบธรรม โดยใช้เป็นข้ออ้างหลังจากกระทำไปแล้ว บางครั้งเป็นการนำอคติของสังคมตะวันตก เข้าไปตัดสินในบริบทตะวันออก ดังนั้นการตัดสินบนพื้นฐานความชอบธรรมไม่มีอะไรถูก ผิด แต่ควรมองว่ามุมไหนส่งผลเลวร้ายน้อยที่สุด

ทั้งนี้ทั้งนั้นสถานการณ์หนึ่งเรามาสามารถวิเคราะห์โดยใช้ทฤษฎีที่แตกต่างกันออกไปได้ ทฤษฎี Normative IR ถือเป็นตัวอย่างหนึ่งที่ประสงค์จะให้ทุกๆคนมองสถานการณ์ได้เข้าใจมากยิ่งขึ้น

ทิ้งท้ายเช่นเดิม รู้หรือไม่……..

-          เมื่อสมัยปี 2013 ทรัมป์ได้เคยทวิตห้ามโอบาม่าโจมตีซีเรีย และระหว่างหาเสียงปี 2016 ได้โจมตีฝั่งนางคลินตัน เรื่องนโยบายโจมตีซีเรียเช่นกัน พร้อมกล่าวว่าการปราบ IS พร้อมการโค้นล้มรัฐบาลอัสซาดไปด้วย เป็นเรื่องไร้สาระ แต่ถึงครั้งนี้ 2017 คราวที่ทรัมป์ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี เขาก็ได้สั่งโจมตีฐานทัพอากาศซีเรียเสียเอง

-          เร็กซ์ ทิลเลอร์สัน รมว.ต่างประเทศสหรัฐ เตือนประเทศอื่นไว้ว่า หากไม่เคารพกฎหมายระหว่างประเทศ หรือก่อภัยคุกคาม ก็อาจจะโดนแบบซีเรียเป็นตัวอย่าง…..

-          ทูตสหรัฐประจำUNยอมรับ เป้าหมายอันดับหนึ่งของสหรัฐตอนนี้คือการโค่นรัฐบาลซีเรีย ปลดนายอัสซาด


#หมายเหตุ เรื่องทฤษฎีความจริงเนื้อหาจะละเอียดกว่านี้นะคะ แต่ไม่ลงลึกและมากความ กังวลว่าลงลึกเวลาอ่านอาจจะเกิดการสับสนขึ้น ใครที่สงสัยว่าIRเรียนอะไร เรียนวิเคราะห์แบบนี้เลยค่ะ นี่เป็นแค่1ในร้อย(?)เท่านั้นนนน หากใครอยากทราบรายละเอียดพิ่มเติมทักไปถามได้เลยค่าาา


ขอขอบคุณข้อมูลดีๆ อ่านเพิ่มเติมได้ที่
      Twitter @AFP
@pannikawanich
@pui_tuangporn
@suthichai
@theNuntiorum