วันพุธที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2560

สรุปข่าวประจำเดือน ก.ค. ! Hot Topics de juillet !

 

Hot Topics de juillet !

     มาติดตามย้อนหลังกันว่าข่าวต่างประเทศที่น่าสนใจประจำเดือนกรกฎาคม มีอะไรบ้าง..... 


1.     รัสเซียลดจำนวนเจ้าหน้าที่การทูตสหรัฐในรัสเซียลง ตอบโต้หลังวุฒิสภาสหรัฐผ่านร่างกฎหมายคว่ำบาตรรัสเซียของประธานาธิบดีทรัมป์

การออกกฎหมายของสหรัฐเป็นผลจากการตอบโต้รัสเซียในวิกฤติการณ์ไครเมียร์ 2014 และการแทรกแซงการเลือกตั้งสหรัฐที่ผ่านมา 


                                                                                                      (ภาพ AP)

2.    การประกาศข้อตกลง หยุดยิงชั่วคราวในตอนใต้ของซีเรีย นำโดยสหรัฐ รัสเซีย ในการประชุม G20 ที่ผ่านมา



3.     ลิเบีย เริ่มกระบวนการสันติภาพในประเทศ 

หลังคู่ปฏิปักษ์ทั้ง 2 ฝ่าย เตรียมเจรจาหยุดยิงและเสนอแผนการเลือกตั้ง เพื่อจัดตั้งรัฐบาลเอกภาพใหม่

 

      4.     เดือนกรกฎาคม ครบรอบ 6 เดือน การทำงานของโดนัล ทรัมป์ บนเก้าอี้ประธานาธิบดีสหรัฐ

โดยสำนักข่าว CNN ได้รวบรวมผลงานของเขาไว้เป็นสถิติที่น่าสนใจ ดังเช่น  คะแนนนิยมของทรัมป์ลดลงต่ำสุดในรอบ 70 ปีของสหรัฐ
 
         
          -จัดแถลงข่าวเพียงแค่ 1 ครั้ง แต่เดินสายปราศรัยนโยบายถึง 5 ครั้ง ยิ่งไปกว่านั้น นักข่าวทุกสำนักต่างถูกห้ามนำกล้องเข้าไปในทำเนียบขาว


         -ออกกฎหมาย 42 ฉบับ โดยส่วนมากนั้นมาจากการใช้อำนาจในคำสั่งประธานาธิบดีคำสั่งสำคัญ : การออกกฎหมายสั่งแบนชาวมุสลิมเข้าสหรัฐ
        -กฎหมายฉบับใหญ่ 0 ฉบับ
        -กฎหมายที่น่าจับตามอง : กฎหมายปฏิรูปภาษี กฎหมายแทนที่ Obamacare และล่าสุดวุฒิสภาได้โหวตล้มกฎหมายที่จะมาแทน Obamacare แล้ว

 รวมไปถึงการถอนตัวสหรัฐออกจาก ความตกลงร่วมนานาชาติที่เป็นผลงานการบริหารงานสมัยประธานาธิบดีโอบาม่า คือ ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (TPP) และ ความตกลงปารีสว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ  

การตอบโต้ของฝรั่งเศสในสมัยของประธานาธิบดีคนใหม่ Macron เสนอเชิญชวนให้นักวิจัยเรื่องโลกร้อนของสหรัฐมาทำงานวิจัยที่ฝรั่งเศสแทน โดยพร้อมสนับสนุนทุนวิจัย

คำสั่งแบนคนอเมริกันห้ามไปเที่ยวเกาหลีเหนือ มีผลบังคับใช้ 27 ส.ค. นี้
หลังจากการเสียชีวิตของนักศึกษาอเมริกันที่ถูกควบคุมตัวในเกาหลีเหนือเมื่อปีที่แล้ว จากข้อหาขโมยแผ่นโปสเตอร์จากโรงแรมที่พัก ขณะไปท่องเที่ยว  และได้รับคำพิพากษาให้ใช้แรงงานหนักเป็นเวลา 15 ปี และต่อมา ทางการเกาหลีเหนือได้ปล่อยตัวเขากลับมายังสหรัฐเมื่อเดือนที่แล้ว ด้วยการอ้างเหตุผลทางมนุษยธรรม แต่ขณะนั้นอาการของเขาอยู่ในขั้นโคม่า และได้เสียชีวิตลงเมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา

ล่าสุด ประธานาธิบดีทรัมป์ ได้ประกาศในทวิตเตอร์ว่า กองทัพสหรัฐ จะไม่อนุญาตให้บุคคลข้ามเพศเป็นทหารในกองทัพ ด้วยการอ้างเหตุผลค่าใช้จ่ายทางการแพทย์


5.    เกาหลีเหนือกับการพิสูจน์ศักยภาพ ยิงขีปนาวุธพิสัยไกลข้ามทวีป(ICBM)ถือว่าไกลที่สุด โดยยิงได้ทุกที่ในสหรัฐ






6.       นายกรัฐมนตรีอิรักประกาศชัยชนะต่อกลุ่ม IS ในเมือง Mosul
หลักจากที่ Mosul เมืองใหญ่อันดับ 2 ของอิรัก ต้นเดือนก..ที่ผ่านมา กองทัพของอิรักใช้เวลาก่อนหน้าถึง 9 เดือน ในการขับไล่กลุ่ม IS ออกไปจากพื้นที่ พร้อมกับสภาพความเสียหายภายในเมืองหลังจากถูกยึดครองโดย IS ถึง 3 ปี


7.       กาตาร์หลังเจอวิกฤต
กาตาร์และสหรัฐได้ลงนามความร่วมมือต่อต้านการก่อการร้าย ขณะการเยือนของรัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐ งRex Tillerson และรัฐมนตรีต่างประเทศกาตาร์
ก่อนหน้าหลังจากที่กาตาร์ถูกตัดความสัมพันธ์จากประเทศกลุ่มอาหรับ เช่น อียิปต์ ซาอุดิอาราเบีย บาห์เรน  และสหรัฐอาหรับอิมิเรตส์ ตัดความสัมพันธ์ทางการค้า
หลักจากการถูกตัดความสัมพันธ์ ภายในประเทศกาตาร์เองได้ประสบปัญหาขาดแคลนอาหารที่ส่วนใหญ่นำเข้ามาจากซาอุฯ ขณะที่สายการบิน Qatar Airways ถูกระงับเที่ยวบินไปซาอุฯเช่นกัน ขณะเดียวกันก็มีนักลงทุนจากประเทศอื่นในแถบนี้มาลงทุนในกาตาร์ กลุ่มแรงงานโดยเฉพาะจากอียิปต์เข้าไปทำงานในกาตาร์ เท่ากับว่า วิกฤติครั้งนี้ประสบปัญหาทั้งฝ่ายที่ถูกกดดันและฝ่ายที่กดดัน เพราะกาตาร์เป็นประเทศเล็กๆที่นำเข้าคนทำงานจากนอกประเทศเป็นหลัก
ล่าสุด(2..)ท่ามกลางสถานการณ์ความขัดแย้ง ความเคลื่อนไหวภายในกาตาร์เอง ได้ประกาศสั่งเรือรบจำนวน 7 ลำ มูลค่ากว่า 5พันล้านยูโรจากอิตาลี 
สำหรับสาเหตุการตัดเยื่อใย
หลายฝ่ายมองว่าเป็นผลมาจากการเยือนซาอุฯของประธานาธิบดีทรัมป์เมื่อเดือนพ.. จากการเจรจาความสัมพันธ์ระหว่างกันเรื่องน้ำมัน ที่สหรัฐได้ประโยชน์ ขณะที่กลุ่มประเทศอาหรับได้รับการคุ้มครองความปลอดภัย
โดยซาอุฯให้เหตุผล กล่าวหากาตาร์ว่าคอยสนับสนุนกลุ่มก่อการร้ายที่มีอิหร่านอยู่เบื้องหลัง กลุ่มภราดรภาพมุสลิม รวมถึงกบฏฮูธีในเยเมน ซึ่งซาอุฯและอิหร่านมีความบาดหมางกันอยู่ ซาอุฯนั้นพยายามลดการขึ้นมามีบทบาทของอิหร่านในภูมิภาคอาหรับ อย่างไรก็ตามภายหลังกาตาร์ได้ออกมาปฏิเสธข้อกล่าวหาทั้งหมดนี้แล้ว

ก่อนที่จะสับสนกับความสัมพันธ์ไปมากกว่านี้ เรามาดูวงจรความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเพื่อความกระจ่างมากยิ่งขึ้น

กาตาร์ เป็น พันธมิตร อิหร่าน
มีความสัมพันธ์ที่ดีทางการค้าร่วมกัน อีกทั้งกาตาร์เป็นประเทศสุดท้ายที่ตัดความสัมพันธ์อิหร่าน(ปี2559)สาเหตุจากแรงกดดันซาอุฯ ด้านภูมิศาสตร์อิหร่านและกาตาร์ เป็นย่านที่มีก๊าซธรรมชาติสำรองมากที่สุดในโลก
อิหร่าน ขัดแย้งกับ สหรัฐฯ
สหรัฐฯ เป็นพันธมิตรมิตร ซาอุฯ :ยิ่งภายหลักการเยือนของประธานาธิบดีทรัมป์เดือนพ..ที่ผ่านมา ผ่านการลงนามยุทธศาสตร์การค้าและอาวุธร่วมกัน  
ซาอุฯ ขัดแย้งกับอิหร่าน : พยายามขัดขวางการขึ้นมามีอิทธิพลในภูมิภาค บางส่วนให้ความคิดเห็นว่ามาจากสาเหตุความขัดแย้งด้านนิกายศาสนาระหว่าง ชิอะห์(อิหร่าน) และ ซุนหนี่ (ซาอุฯ)

กาตาร์สนับสนุนกลุ่มก่อการร้ายจริงหรือ
กาตาร์นั้นเป็นประเทศที่ผู้ปกครองและสื่อหันไปให้การสนับสนุนประชาธิปไตยมากขึ้น อย่างกลุ่ม ภราดรภาพมุสลิม (Muslim Brotherhood)” ที่เป็นขบวนการที่สนับสนุนให้ชาวมุสลิมออกมาแสดงเสรีภาพเรื่องการศึกษาและการเคลื่อนไหวโดยเสรีประชาสังคมด้านต่างๆ กรณีตัวอย่างเช่นในอียิปต์ ต่อมากลุ่มภราดรภาพเข้ามามีบทบาทสมัครเข้าเล่นเมือง แต่ระบบปกครองเดิมของอียิปต์กลับมองว่ากลุ่มภราดรภาพนี้เป็นอุปสรรค ต้องปราบปราม โดยการจับมาขังคุก ทรมานต่างๆ กลุ่มคนบางกลุ่มที่ได้รับความกดดันจึงตัดสินใจแยกตัวออกไปจากกลุ่มเดิม พร้อมเปลี่ยนอุดมการณ์เดิมของกลุ่ม หันไปใช้ความรุนแรงแทน  
ซาอุฯและประเทศอื่นๆ ที่ปกครองด้วยระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ แน่นอนว่าต้องมอง กลุ่มภราดรภาพมุสลิมที่มีอุดมการณ์เสรีประชาธิปไตยเป็นภัยคุกคาม อาจปลุกระดมคนลุกขึ้นมาล้มระบอบการปกครองของตน   

หากมองในเรื่องนโยบายระหว่างประเทศ การกระทำของประเทศซาอุฯรวมถึงประเทศที่ปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ เรียกว่า Status Quo หมายถึง การกระทำของประเทศที่ต้องการรักษาสถานะเดิม ไม่ต้องการให้เกิดการเปลี่ยนแปลง(ระบอบการปกครอง)ในประเทศ ตรงกันข้ามกับ Revisionism ที่ต่อต้านสถานะเดิม ต้องการการเปลี่ยนแปลง (หากใช้กับรัฐใช้คำว่า ‘Revisionist State ตัวอย่างเช่น อิตาลีสมัยการปกครองของมุสโสลีนีช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 )

                ดังนั้นประเทศซาอุฯและประเทศพันธมิตรอื่นๆที่มีระบอบการปกครองเช่นเดียวกัน จึงสร้างสถานการณ์ให้กลุ่มภราดรภาพมุสลิมเป็นภาพลบในสายตาประชาชนภายนอกว่าเป็น ขบวนการก่อการร้าย
                ตัวอย่างที่เห็นได้ชัด คือ ขบวนการฮามาสในปาเลสไตน์ ที่ต่อต้านกลุ่มรัฐบาลกลางของอิสราเอล สหรัฐภายใต้การขึ้นมามีอำนาจของประธานาธิบดีทรัมป์ แม้จะแสดงความเป็นกลางต่อเรื่องปัญหาความขัดแย้งในโลกอาหรับขณะนี้ แต่หากมองความเป็นจริงแล้ว ระหว่างกาตาร์กับอิสราเอล แน่นนอนว่าสหรัฐต้องเลือกอิสราเอล (เหตุผลที่คนเชื้อชาติยิวส่วนใหญ่ในสหรัฐ บวกกับเรื่องข้อตกลงเรื่องธุรกิจน้ำมัน) 


ขอขอบคุณทุกคนที่สนใจอ่านถึงบรรทัดนี้นะคะ ทุกๆเนื้อหานั้นมาจากทั้งเนื้อหาข่าวจากสำนักข่าว ผสมกับการใช้หลักวิเคราะห์ของIR ที่ตัวเองเคยเรียนมา โดยระบุไว้ชัดเจนอยู่แล้ว หากใครคิดเห็นไม่ตรงกันประการใด ขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยค่ะ ให้ถือว่าเป็นวิจารณญาณส่วนบุคคล :)



ขอบคุณแหล่งข้อมูลจากทุกข่าว จาก
Pannika @ Voice TV
Aljazeera
@theTerrarum
CNN
AP
AFP
Reuters
The guardian