วันศุกร์ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2560

Trump's Vision สหรัฐอเมริกาในมือทรัมป์


นโยบายทรัมป์ ความเป็นไปของสหรัฐอเมริกาในอนาคต

             คำว่า “Make America Great Again” เป็นคำกล่าวที่ถือว่าเป็นที่จดจำไปทั่วโลกของโดนัล ทรัมป์ที่ได้กล่าวไว้ช่วงหาเสียงเลือกตั้ง จนในที่สุดเอาชนะใจคนอเมริกันที่ไปลงคะแนนเสียง และส่งผลให้ทรัมป์ได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีคนล่าสุดของสหรัฐอเมริกา
            วิสัยทัศน์ของทรัมป์ในด้านนโยบายการบริหารประเทศ มีความแตกต่างกับประธานาธิบดีคนก่อนอย่างบารัก โอบามา ทั้งอาจมาจากพื้นหลังดั้งเดิมหรือจะเป็นมุมมองการเมืองที่มีความเห็นไม่ตรงกัน ส่งผลต่อความเป็นไปในอนาคตของทั้งสหรัฐอเมริกาและส่งผลกระทบไปทุกประเทศทั่วโลก

ยกเลิก Obamacare

นโยบายแรกที่ทรัมป์ได้ใช้อำนาจประธานาธิบดีเซ็นอนุมัติหลังจากการเข้ารับตำแหน่งอย่างเป็นทางการ คือ การยกเลิกกฎหมายประกันสุขภาพของโอบามา (Obama Care) ที่โอบามามีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือประชาชนชาวอเมริกันในการลดค่าใช้จ่าย ในส่วนนี้ทรัมป์ได้มีความคิดเห็นตรงกันข้ามกับโอบามาโดยชัดเจน เพราะจากวิสัยทัศน์ของพรรค Republican ของทรัมป์ที่โดยส่วนใหญ่สมาชิกพรรคประกอบธุรกิจขนาดใหญ่ จะไม่ให้การสนับสนุนในเรื่องการช่วยเหลือค่าใช้จ่ายแก่คนยากไร้ ซึ่งตรงกันข้ามกับพรรค Democrat ของโอบามา โดยสมาชิกพรรคคนหนึ่งได้กล่าวว่าหากยกเลิกนโยบายประกันสุขภาพต่างๆจะสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายประเทศได้หลายล้านเหรียญสหรัฐ

ถอนตัวจากการเป็นสมาชิก TPP

ความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจภูมิภาคแปซิฟิค หรือ TPP : Trans-Pacific Partnership ถือเป็นเขตการค้าเสรี (FTA) ที่ใหญ่ที่สุดในโลก ประกอบด้วยประเทศสมาชิก ได้แก่ สหรัฐ ญี่ปุ่น แคนาดา เม็กซิโก ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ สิงคโปร์ มาเลเซีย บรูไน เวียดนาม ชิลี เปรู โดยมีสหรัฐเป็นผู้นำหลัก ดำเนินการในสมัยของโอบามา
การใช้อำนาจประธานาธิบดีถอนตัวออกจาก TPP ของทรัมป์ ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อสหรัฐมากมาย เพราะTPP เป็นการดำเนินงานของโอบามาที่ยังไม่ได้ผ่านการอนุมัติจากสภา Congress และยังไม่มีผลเป็นรูปธรรม มีเพียงการลงนามการเป็นภาคีในความร่วมมือ ความตั้งใจของสหรัฐในสมัยโอบามา ที่ต้องการคานอำนาจทางการค้ากับจีนในภูมิภาคเอเชียดูเหมือนจะริบหรี่ลงในสมัยของทรัมป์ แน่นอนว่าทรัมป์ต้องการลดค่าใช้จ่ายของสหรัฐภายนอกประเทศ พร้อมหันกลับมาพัฒนาในสหรัฐแทน
อย่างไรก็ตามการถอนตัวของสหรัฐ  ที่เป็นตัวการหลัก ส่งผลต่อความไว้วางใจต่อประเทศสมาชิกอื่นๆใน TPP แม้ว่าญี่ปุ่น หนึ่งในประเทศที่มีกำลังเศรษฐกิจเจริญเติบโตในเอเชีย ตั้งใจสานต่อความร่วมนี้ก็ตาม โดยที่นายกญี่ปุ่น ชินโซะ อาเบะ กำลังอยู่ในการนัดหารือใหม่เรื่องนโยบายเศรษฐกิจกับประธานาธิบดีโดนัล ทรัมป์

เปลี่ยนแปลง NAFTA

ความร่วมมือทางการค้าเสรีที่สำคัญอีกหนึ่งเขต คือ ข้อตกลงการค้าเสรีในทวีปอเมริกาเหนือ NAFTA ที่ประกอบไปด้วย สหรัฐอเมริกา แคนาดา และแม็กซิโก
ทรัมป์ได้มีคำสั่งนัดเจรจา แก้ไขข้อตกลงนี้กับผู้นำทั้งอีกสองประเทศ โดยเฉพาะกับแม็กซิโก ซึ่งรวมไปถึงเรื่องการสร้างกำแพงกั้นพรมแดนระหว่างกัน และการตรวจเข้มเรื่องการเข้าสหรัฐของคนแม็กซิกัน

Promote Pipeline

วิสัยทัศน์หนึ่งของทรัมป์จากพรรค Republican คือ การไม่ส่งเสริมการลดภาวะโลกร้อน และการรักษาสิ่งแวดล้อม เหตุผลหนึ่งคะเนได้จากการที่ทั้งทรัมป์เองและสมาชิคพรรคคนอื่นมีกิจการส่วนใหญ่เป็นอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ มีความจำเป็นในการใช้น้ำมันเป็นเชื่อเพลิง แน่นอนว่าหากลดกำลังการผลิตลง และเข้าร่วมข้อตกลงความร่วมมือลดโลกร้อนต่างๆแบบที่สมัยโอบามาปฏิบัติ จะส่งผลต่อธุรกิจ โรงงานอุตสาหกรรมมหาศาล และอีกทางหนึ่งคือหากประเทศลดอุตสาหกรรมการผลิตลง จะส่งผลกระทบต่อการพัฒนาประเทศในโลกกาภิวัตน์เช่นนี้ (วิเคราะห์ตามหลัก Limit to Growth : Green Theory)
สอดคล้องกับการเดินหน้าโครงการสร้างท่อส่งน้ำมัน Keystone XL และ Dakota Access ของทรัมป์ ที่โอบามาสั่งยุติชั่วคราว จากการมีผู้เดินขบวนต่อต้านโครงการนี้จำนวนมากรวมถึงคนในแคนาดา จากผลที่กระทบต่อสิ่งแวดล้อม


ต่อต้าน Refugees

อีกหนึ่งปราศรัยสำคัญที่สร้างความสะเทือนใจไปทั่วโลก คือ นโยบายต่อต้านคนมุสลิมและผู้อพยพเข้าสหรัฐ เมื่อเข้าดำรงตำแหน่ง ทรัมป์เตรียมใช้คำสั่งอำนาจประธานาธิบดี ห้ามผู้อพยพ ที่ลี้ภัยมาจากประเทศมุสลิมบางประเทศเข้าสู้พรมแดนสหรัฐ เช่น จากซีเรีย อิรัก อิหร่าน เยเมน ลิเบีย โซมาเลีย ซูดาน


Mexican Border wall

รวมถึงอีกวาทะสำคัญที่ต่อต้านคนแม็กซิโกเข้าสหรัฐ จากการที่ทรัมป์มองว่าคนแม็กซิโกเข้ามาแย่งงานคนอเมริกัน 
แต่แรกทรัมป์เสนอให้แม็กซิโกเป็นผู้ออกค่าใช้จ่าในการสร้างเองทั้งหมด แต่ประธานาธิบดีเอ็นริเก นิเอโตของแม็กซิโ ปฏิเสธว่าจะไม่จ่ายเด็ดขาด ถ้าจะต้องจ่ายต้องเป็นผลประโยชน์โดยทั้งสองฝ่ายเท่านั้น
ทรัมป์ จึงตอบโต้โดยจะปรับภาษีนำเข้าจากเม็กซิโก 5-20% เพื่อนำค่าขึ้นภาษี มาจ่ายค่ากำแพงกั้นชายแดนสหรัฐฯ-เม็กซิโก ส่วนนี้ผู้วิเคราะห์หลายฝ่ายมองว่าส่งร้ายมากกว่าผลดี โดยเฉพาะกับประชาชนชาวอเมริกันเอง เพราะสินค้าโดยส่วนใหญ่นำเข้ามาจากแม็กซิโก หากขึ้นภาษีนำเข้าประชาชนอเมริกันจะต้องแบกรับภาระมากขึ้นไปอีก โดยเฉพาะอย่างยิ่งอุตสาหกรรมรถยนต์ที่มีโรงงานที่ตั้งอยู่ในแม็กซิโกโดยส่วนมาก
จากการปฏิเสธของประธานาธิบดีแม็กซิโกส่งผลให้การนัดพบกันระหว่างทรัมป์และเอ็นริเกเป็นอันต้องยกเลิกไป ล่าสุดประกาศจากพรรค Republican แถลงว่าจะนำงบประมาณสำรองที่ไม่ใช่ส่วนของงบประมาณส่วนกลาง ออกมาใช้ในการสร้างกำแพงแทน โดยต้องรออนุมัติงบจากสภา Congress เสียก่อน


แหล่งอ้างอิง ขอขอบคุณ
Twitter @pannikawanich
@Suchanee_R
รายการ เที่ยงวันทันเหตุการณ์ ,27/01/2017


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น