วันอาทิตย์ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2560

Post-Brexit นี่เรามาถึงจุดนี้ได้อย่างไร...

         หลักจากปรากฏการณ์ผลประชามติของ*สหราชอาญาจักรออกจากการเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป นำไปสู่กระแสการเมืองฝ่ายขวานิยม ได้อย่างไร
(*ไม่ใช่ของอังกฤษประเทศเดียว รวมทั้ง อังกฤษ ไอร์แลนด์เหนือ สกอตแลนด์ เวลส์)

ทำไมถึงอยากออก

โดยพื้นฐานแล้วอังกฤษไม่มีความประสงค์ที่จะเป็นสมาชิกองค์กรเหนือรัฐตั้งแต่ต้น (ตั้งแต่เป็น EEC ก่อนมาเป็น EU) แต่ปีที่ผ่านๆมาปัญหาเรื่องผู้อพยพและภัยก่อการร้ายกลายเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ประชากรตัดสินใจเช่นนี้

    -เรื่องผู้อพยพ ผลที่ตามมาจากการก่อการร้าย + ต้องให้ที่พักพิง งาน + แรงงานเสรีที่เคลื่อนย้ายมาทั่วEUแย่งงาน เอาเปรียบเรื่องละเว้นภาษี สวัสดิการ คนในประเทศ  (ถ้าออกจากEUจะกำหนดเกณฑ์ กฎหมาย เรื่องผู้ลี้ภัยได้เอง + เหตุผลใน การรักษาอัตลักษณ์ของชาวอังกฤษเดิมไว้)
    -สหราชอาณาจักรต้องจ่ายเงินในฐานะประเทศสมาชิกปีละหลายแสนล้านบาท (ประมาณ9แสนล้าน) เกิดความคิดว่าเอาเงินมาพัฒนาประเทศจะเกิดประสิทธิภาพมากกว่า
-สหภาพยุโรปเป็น Supra-International Organization องค์กรเหนือรัฐ มีศาลยุโรป มีกฎหมายที่ออกโดยสภายุโรป ทุกประเทศสมาชิกต้องปฏิบัติตาม (ไม่เป็นอิสระ เลือกตั้งเองไม่ได้)

    -จาก #วิกฤตกรีซ และก่อนหน้านี้ในหลายๆประเทศ ปัญหาเศรษฐกิจยุโรปย่ำแย่ ประเทศสมช.ต้องให้เงินช่วยเหลือ รักษาความน่าเชื่อถือของเงินยูโร (เยอรมนี กับฝรั่งเศสนำเงินช่วยเหลือเป็นจำนวนมาก เพราะเสรษฐกิจดี และอังกฤษถือโอกาสออก เพราะเดิมใช้ค่างินปอนด์ แต่ถ้าเศรษฐกิจยุโรปล่มจะส่งผลกระทบกับอังกฤาเองด้วยเช่นกัน)

    -นายกรัฐมนตรีเดวิด คาเมรอน ประกาศลาออก (เพราะตนเองสนับสนุนให้ Remain)
* ความจริง ประชามติไม่มีผลทางกฎหมาย แต่คาเมรอนแสดงความรับผิดชอบ และไม่ให้เกิดข้อกังขาเวลาทำงานต่อ (บางส่วนมองว่าที่คเมรอนลาออก เพราะไม่ต้องการที่จะรับผิดชอบสถานการรณ์ทั้งทางเศรฐกิจ การเมืองหลักจากนี้)

ระหว่างนี้อังกฤษทำอะไร


                                                                                                                  ภาพ : BBC
                                                  
หลักจากที่นางทเรซา เมย์ (Theresa May) นายกคนใหม่ของอังกฤษขึ้นสู่ตำแหน่ง ระหว่างนี้ทั้งสหราชอาณาจักรรอเจรจากับผู้นำประเทศต่างๆเรื่องสัญญาที่เคยทำร่วม รอถอดถอนออกจากสภาพการเป็นสมาชิก

 
  ระยะเวาลโดยประมาณ 2 ปีสำหรับกระบวนการถอดถอนตาม มาตรา 50 ของ สนธิสัญญาลิสบอน ปี2009
ที่กำหนด ให้สหราชอาณาจักรเข้าสู่ขบวนการถอดถอน
เท่ากับว่า อังกฤษกลับเข้าสู่สมาชิกสหภาพยุโรปไม่ได้อีกแล้ว ถ้าจะเข้ามาอีกต้องได้รับความยินยอมจาก 27 ประเทศสมาชิกทั้งหมด

ผลกระทบต่อไทย

 เศรษฐกิจ ระยะสั้นๆ ทองคำราคาผันผวน หุ้นตก ค่าเงินบาทอ่อน เพราะ ไทยส่งออกไปยังอังกฤษแค่ 2% นักลงทุนอังกฤษในไทยมีจำนวนไม่มาก
****
- มอร์แกน สแตนลีย์ บริษัทการลงทุนจากสหรัฐฯ ประกาศย้ายตำแหน่งงาน 2,000 ตำแหน่งไปยังเยอรมนีและไอร์แลนด์แทนอังกฤษ

ระหว่างนี้อังอังกฤษพยุงเศรษฐกิจไม่ให้เงินปอนด์อ่อนค่าลงไปกว่านี้ อย่างไรก็ตามหุ้นตก ราคาน้ำมันร่วง ค่าเงินปอนด์ยังคงตก
-อังกฤษเสียสถานะประเทศเศรษฐกิจใหญ่อันดับ 5 ของโลกให้ฝรั่งเศส หลังจากเงินปอนด์ร่วงหนักจาก Brexitจนทำให้มูลค่าเศรษฐกิจในประเทศลดลง

-นักวิชาการอังกฤษกลัวเกิดภาวะสมองไหลจาก Brexit นักวิชาการจะอพยพไปทำงานในอียู

ประเด็นเชื่อมโยงสำคัญ

♡♡♡Domino Effects♡♡♡
 
       ปัญหาอยู่ที่ผลเกิดกับทั้งสหราชอาณาจักร ที่รวมประเทศอื่นในเครือจักรภพไปด้วยสกอตแลนด์ เรียกร้องที่จะทำประชามติ Remain ในสหภาพยุโรปเหมือนเดิม (ต้องการอยู่euต่อ & ต้องการออกแยกประเทศ ออกจาก UK รอบที่ 2)  บวกกับประชาชนส่วนใหญ่ทั้งในฝรั่งเศส อิตาลี ก็เรียกร้องประชามติออกจาก EU
 

       ปรากฏการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร

      สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากนโยบายการเปิดประเทศ รับผู้อพยพที่ลี้ภัยจากสงครามกลางเมือง จากประเทศแถบตะวันออกกลาง และในแอฟริกาเอง ภาพในแง่ลบจากผู้อพยพทั้งจาก เหตุการณ์ก่อการร้ายต่างๆที่เกิดขึ้นในสถานที่สำคัญหลายๆประเทศทั้งในฝรั่งเศส เบลเยี่ยม และเยอรมนี ผู้กระทำการเหล่านี้ส่วนใหญ่ตรวจสอบพบว่าแฝงตัวมาในกลุ่มผู้อพยพเพื่อมาก่อเหตุ ในส่วนของประเทศที่เปิดรับผู้อพยพแน่นอนว่าต้องแบกรับภาระมหาศาลทั้งในเรื่องของการหาที่พักพิง อาหาร จนไปถึงการหาอาชีพเป็นหลักแหล่ง 
      มุมมองจริยธรรม ช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ตามแนวคิด พลเมืองโลกนิยม cosmopolitanism ที่มองว่ามนุษย์ทุกคนในโลกเป็นประชากรโลกเช่นกัน ฉะนั้นควรช่วยเหลือในฐานะเพื่อนมนุษย์โลก แม้ว่าจะมีความแตกต่างทางด้านพื้นเพวัฒนธรรม เชื้อชาติก็ตาม

      มีขาวก็ต้องมีดำ มีแง่ดีก็ต้องมีแง่ร้าย

     ประชากรบางกลุ่มที่เห็นผลร้าย จากภาพลักษณ์ผู้อพยพในแง่ลบ ทั้งจากสื่อและสังคมออนไลน์ และมองว่าไม่ควรแบกรับภาระนี้อีกต่อไป เพราะไม่สามารถมองเห็นผลประโยชน์จากจุดยืนเดิม อีกทั้งกลุ่มคนผู้ลี้ภัยเหล่านี้เป็นคนนอกพรมแดนรัฐ เมื่อเข้ามาอาศัยในรัฐของตนต้องมีการจัดหาแหล่งที่อยู่ อาชีพ เกิดการแต่งงาน เชื้อชาติมีความหลากหลายมากขึ้น ไม่เป็นชาติเดิมโดยแท้แต่กำเนิดอย่างในอดีต เกิดความรู้สึกหวงแหนในความเป็นเอกลักษณ์เดิมของตน นำไปสู่การหันเหเข้าสู่สังคมอนุรักษ์นิยม (ฝ่ายขวานิยม)
 

ภาษาอังกฤษถูกลดความสำคัญลงจากการที่เป็นภาษาราชการ แทนที่โดยภาษาฝรั่งเศสกับภาษาเยอรมัน

          - อยู่ในขั้นตอนพิจารณา หมายความว่า ถ้าอังกฤษจะทำสัญญากับอียูด้วย ก็ต้องนำไปแปลเป็นภาษาอังกฤษเอง
อย่างไรก็ตาม ทั้งภาษาฝรั่งเศส ภาษาอังกฤษแต่เดิมก็เป็นภาษาราชการ ภาษาที่ใช้โดยส่วนมากในประชาคมยุโรปอยู่แล้วรองจากภาษาอังกฤษ ในส่วนของตรงนี้จึงไม่มีการเปลี่ยนแปลงภายในมากนัก แต่จากภายนอกอาจมีผลกระทบไม่มากก็น้อย
 
แหล่งอ้างอิง
BBC / RT / AFP / The Guardian
@Carina3603
@pannikawanich
@Prapapoom

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น