วันเสาร์ที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2560

เทเรซา เมย์ ปะทะด้วยสกอตแลนด์ 

 

ภาพ ขณะนางเทเรซา เมย์ นายกรัฐมนตรีอังกฤษแถลงการยื่นจดหมายเข้าสู่กระบวนการในสภายุโรป (BBC)


           หลังจากผลประชามติออกมาว่า สหราชอาณาจักรต้องการที่จะออกจากการเป็นสมาชิกของสหภาพยุโรป ล่าสุดนางเทเรซา เมย์ (Theresa May) นายกรัฐมนตรีอังกฤษนำสหราชอาณาจักรเข้าสู่กระบวนการถอดถอนตามมาตราที่ 50 ของสนธิสัญญาลิสบอน ซึ่งใช้ระยะเวลาเข้าสู่กระบวนการ 2 ปี 
           ปฏิกิริยาจากฝั่ง สกอตแลนด์ 1ในประเทศในเครือจักรภพ ต้องการที่จะแยกตัวเป็นเอกราชออกจากสหราชอาณาจักร ซึ่งปฏิกิริยานี้มีตั้งแต่ช่วงที่สหราชอาณาจักรเองจัดประชามติเมื่อปี2016ที่ผ่านมา ผลในครั้งนั้นออกมาว่าชาวสกอตแลนด์กว่าร้อยละ60 ต้องการที่จะอยู่ต่อในสหภาพยุโรป ในครั้งนี้นายกรัฐมนตรีสกอตแลนด์ นางนิโคลา สเตอร์เจี้ยน (Nicola Sturgeon) ได้ยื่นหนังสือต่อนายกรัฐมนตรีอังกฤษ ว่าประสงค์จะทำประชามติออกจากสหราชอาณาจักรอีกรอบ เพราะแน่นอนว่าการออกจากสมาชิกสหภาพยุโรป เท่ากับว่าออกจากการเป็นตลาดเสรีเดียวกันด้วย ชาวสกอตแลนด์ส่วนใหญ่อาจได้รับผลกระทบด้านเศรษฐกิจ การลงทุน การศึกษา การประกอบอาชีพ หรือจะเป็นสวัสดิการสังคมต่างๆที่เคยได้รับเมื่อเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป ภายในระยะเวลาที่กำลังเข้าสู่กระบวนการ2ปีนับจากนี้จึงเป็นช่วงเวลาสำคัญ ที่ชาวสกอตแลนด์ยังสามารถเลือกเปลี่ยนอนาคตตนเองได้ โดยนายกสกอตแลนด์ยังบอกไว้อีกว่าหากทางอังกฤษขัดขวาง จะถือเป็นการจำกัดสิทธิ ซึ่งไม่เป็นประชาธิปไตย ขณะที่ฝั่งเทเรซา เมย์เองกล่าวให้ความเห็นว่าการประชามตของสกอตแลนด์ควรรอให้กระบวนการ เสร็จสมบูรณในอีก2ปีก่อน 
          ปฏิกิริยาทางฝั่งสหภาพยุโรปเอง ประธานกรรมาธิยุโรปอย่างนาย ดอนัลต์ ตุสก์ (Donald Tusk) ได้ออกแถลงการณ์แสดงความยินดี และขอบคุณสำหรับการเป็นสมาชิกของสหราชอาณาจักรที่ผ่านมา โดยภายใน 48ชม. เขาจะส่งเอกสารที่ยื่นมานี้ให้แก่ 27ประเทศสมาชิก EU ที่เหลือ เพื่อการเรจากัน ส่วนฝั่งเยอรมนี 1ในประเทศผู้นำด้านเศรษฐกิจของ EU รัฐมนตรีต่างประเทศเยอรมัน ได้กล่าวว่า ความสัมพันธ์ของอังกฤษและเยอรมนียังคงเป็นเช่นเดิม และหวังว่าความสัมพันธ์ใหม่ระหว่างอังกฤษและ EU จะคุยกันได้ราบรื่นเช่นเดิม แม้จะมีการค่อนขอดไว้ว่า "....อย่างไรก็ดีสหราชอาณาจักรกล้าที่จะทำเช่นนี้ ท่ามกลางสภาวะความไม่มั่นคงในโลกได้อย่างไร..." 


 ทิ้งท้ายไว้ให้คิด....  

        - เหตุผลที่สหราชอาณาจักร ซึ่งนำโดยอังกฤษ ต้องการออกจากสหภาพยุโรป (EU) ก็คงเป็นเหตุผลเดียวกันทีสกอตแลนด์ต้องการเป็นสมาชิกEU ต่อไป  

    ซึ่งเหตุผลหลักนั้น คงหนีไม่พ้น เหตุผลทางด้านเศรษฐกิจ ย้อนไปจุดประสงค์หลักของการก่อตั้ง EU ขึ้นมา คือการลดความขัดแย้ง แทนที่โดยการรวมตัวกันเป็นสหภาพทางเศรษฐกิจ มีตลาดร่วมกัน เคลื่อนย้ายทุน แรงงาน โดยเสรี ในสกุลเงินเดียวกัน ในส่วนของอังกฤษเองที่ไม่ได้ร่วมลงนามใน 'ข้อตกลงเชงเกน' ที่มีข้อตกลงเคลื่อนย้ายเสรีตั้งแต่แรก มีการใช้ค่าเงินปอนด์เป็นของตนเองอยู่แล้ว และมีเศรษฐกิจที่มั่นคงในตนเองระดับหนึ่ง ประกอบกับการเป็นสมาชิกของ EUนั้น แต่ละประเทศต้องจ่ายค่าสมาชิกให้สหภาพแต่ละปีจำนวนมหาศาล คนอังกฤษบางส่วนเกิดความคิดว่าเป็นการใช้เงินโดยเปล่าหรือไม่ ยิ่งไปกว่านั้นสถานการณ์เรื่องความมั่นคงในปัจจุบันจากการมีนโยายเปิดรับผู้ลี้ภัยของEUเอง ส่งผลให้ผู้คนส่วนหนึ่งเกิดความรู้สึกกลัวภัยก่อการร้ายที่เกิดขึ้นให้เห็นตามมาจากการกระทำของผู้อพยพ 

    ผู้คนอังกฤษส่วนใหญ่จึงตัดสินใจที่จะโหวตออกจากการเป็นสมาชิก EU ในที่สุด ตรงกันข้ามกับสกอตแลนด์ ประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจเล็กกว่า และยังต้องการที่จะพึ่งพาตลาดร่วมจาก EU คนสกอตแลนด์ส่วนใหญ่จึงต้องการที่จะอยู่เป็นสมาชิก EU ต่อไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งประชากรวัยทำงาน และนักเรียน นักศึกษาที่สามารถเคลื่อนย้ายไปตามประเทศสมาชิกต่างๆได้เสรี

       -ตามที่ทราบกันดีว่าการออกจาก EU นั้น เป็นกระบวนการที่มีผลบังคับใช้ทั้งสหราชอาญาจักร รวมทุกประเทศที่อยู่ในเครือจักรภพ

       -ความเห็นจากนักเศรษฐศาสตร์เห็นว่ามีผลเสียทางเศรษฐกิจมากกว่าที่คิด 

แม้หุ้น และค่าเงินปอนด์จะตกหลังจากผลประชามติออกมาเพียงเล็กน้อย และเศรษฐกิจของอังกฤษเองขณะนี้ยังคงอยู่ในระดับดี แต่นี่ยังเป็นการอยู่ในกระบวนการถอดถอน หากในระยะยาวคงจะเกิดผลเสียมากกว่านี้ 

      -การออกจาก EU ไม่มีผลต่อการเป็นสมาชิก NATO ของสหราชอาณาจักร 

 

ขอขอบคุณข้อมูลดีๆ อ่านต่อเพิ่มเติมได้ที่

 news.voicetv.co.th/world/476265.h 

twitter @theNuncius 

economist.com/blogs/buttonwo

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น