วันอาทิตย์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

ความร่วมมือด้านการค้าของไทย และ สรุปเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นภายในต้นปี 2018

ความร่วมมือด้านการค้าระหว่างประเทศของไทย

  • เขตการค้าเสรีอาเซียน (ASEAN Free Trade Area : AFTA)                 
          เป็นข้อตกลงทางการค้า เพื่อการเปิดเสรีด้านการค้าและการลดภาษีและอุปสรรคข้อกีดขวางทางการค้า รวมทั้งการปรับเปลี่ยนโครงสร้างภาษีศุลกากรเพื่อเอื้ออำนวยต่อการค้าเสรี ประกอบด้วย สมาชิก 10 ประเทศอาเซียน : กัมพูชา ไทย บรูไน พม่า ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย ลาว เวียดนาม สิงคโปร์ อินโดนีเซีย
และแบ่งย่อยเป็นกลุ่มความร่วมมือ ได้แก่
1.      กลุ่มอาเซียน +3 : กลุ่มปรเทศสมาชิกอาเซียน 10 ประเทศ + 3 ประเทศคู่เจรจา : จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้
2.      กลุ่มอาเซียน + 6 : อาเซียนบวก3 + นิวซีแลนด์ ออสเตรเลีย อินเดีย
3.      กลุ่มอาเซียน + 9 : กลุ่มอาเซียนบวก6 + สหรัฐฯ แคนาดา รัสเซีย

  • ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ เอเชีย-แปซิฟิก (APEC)
กลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจ ระหว่างเขตเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ก่อตั้ง 1989 ที่ทำการ สิงคโปร์ ประกอบด้วย 21 เขตเศรษฐกิจ (19ประเทศ 2 เขตเศรษฐกิจ): สหรัฐฯ แคนาดา เม็กซิโก ชิลี เปรู จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ รัสเซีย บรูไน ไทย เวียดนาม อินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ ปาปัวนิวกินี (ประเทศสังเกตการณ์อาเซียน) ฮ่องกง ไต้หวัน นิวซีแลนด์ ออสเตรเลีย
การจัดการประชุมล่าสุด
2017 ณ เมืองดานัง เวียดนาม กำลังจะเกิดขึ้นในปี 2018 ณ ปาปัวนิวกินี และ 2019 ณ ชิลี

  • ความตกลงพันธมิตรทางการค้าระดับภูมิภาค (RCEP)
            ความร่วมมือระหว่าง ประเทศอาเซียน 10 ประเทศ + ญี่ปุ่น จีน เกาหลีใต้ อินเดีย ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ (หรือที่รู้จักกันในนาม อาเซียน+6) = 16 ประเทศ โดย RCEP ครอบคลุม ทั้งตลาดสินค้า และตลาดการลงทุนโดยการเปิดตลาด ล่าสุด ต้นปี 2017 มีการเจรจาเปิดสินค้า 80%  : สินค้า 65% ปลอดภาษี และอีก 15% จะปลอดภาษีในอีก 10-15ปีข้างหน้า ส่วนอีก 20% ยังอยู่ในการเจรจาเพราะเป็นสินค้าอ่อนไหว และอ่อนไหวสูง
            เมื่อสหรัฐฯถอนตัวออกจาก TPP ญี่ปุ่น ซึ่งเป็นสมาชิกทั้ง TPP และ RCEP ได้เร่งจัดการประชุมคณะกรรมการเจรจาด้านการค้า RCEP  แต่ยังหาข้อสรุปไม่ได้ในเรื่อง การลดภาษีสินค้าระดับสูงกับทุกประเทศเท่ากัน (อาเซียนเห็นพ้อง แต่อีก6ประเทศยังไม่ตกลง)
การเชื่อมอาเซียนเข้ากับเศรษฐกิจโลก : RCEP vs TPP
  • RCEP มีความยืดหยุ่นมากกว่า เพราะเป็นการเรจาในนามอาเซียน ซึ่งต้องใช้หลัก ฉันทามติก่อนที่จะเสนออีก 6 ประเทศ จากนั้นทั้ง 16 ประเทศร่วมเจรจาให้ได้ฉันทามติ จึงไม่มีประเทศใดชี้นำได้ (TPP แต่เดิมสหัฐมีบทบาทมาก)
  • RCEP กำหนดประเทศที่ให้สัตยาบัน จึงมีผลบังคับใช้ ต่างจาก TPP ที่ดู GDP ซึ่งมีค่ากำหนด 85% ของมูลค่า GDP ร่วมของประเทศสมาชิก

นโยบายเศรษฐกิจรัฐบาล พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา
 ไทยแลนด์ 4.0”
  • เป็นนโยบายการวางรากฐานประเทศในระยะยาว โดยเป็นจุดเริ่มต้นการขับเคลื่อนสู่ประเทศที่มั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน
  • รูปแบบที่มีการผลักดันการปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจ การวิจัย การพันา และการศึกษาไปพร้อมกัน
  • เป็นการผนึกกำลังของทุกภาคส่วนภายใต้แนวคิด ประชารัฐที่ผนึกกับเครือข่ายพันธมิตรธุรกิจ
  • ขับเคลื่อนประเทศสู่ เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม (Valued-Based Economy)
ฐานคิดหลัก
  • เปลี่ยนการผลิต โภคภัณฑ์ เป็น นวัตกรรม (ไม่ใช้ปุ๋ย)
  • จากการขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยภาค อุตสาหกรรม เป็น เทคโนโลยี นวัตนกรรม และความคิดสร้างสรรค์
  • จากเน้นภาคผลิต เป็น เน้นภาคบริการ
  • จากเกษตรดั้งเดิม เป็น เกษตรสมัยใหม่ ที่เน้นการจัดการและเทคโนโลยี (Smart Farming) โดยเกษตรกรเป็นผู้ประกอบการ (entrepreneur)
  • จาก SMEs ที่รัฐต้องช่วย เป็น Smart Enterprises และ Startup บริษัทเกิดใหม่ที่มีศักยภาพสูง
  • จากแรงงานทักษะต่ำ เป็น แรงงานทักษะสูง เชี่ยวชาญรับมือกับการเปลี่ยนแปลงใน ศตวรรษที่ 21 ได้
ที่มา 4.0
  • จากเดิม ยุค 1.0 เน้นการเกษตร (สมัยร.4) ผลิตและขาย จำพวกพืชไร่พืชสวน
  • 2.0 เน้นอุตสาหกรรมเบา (สมัยจอมพลสฤษดิ์) : ผลิตรองเท้า เครื่องหนัง เครื่องนุ่งห่ม เครื่องดื่ม
  • 3.0 อุตสหกรรมหนัก + เน้นการส่งออก (สมัยพลเอกเปรม) :เหล็กกล้า ยานยนต์ กลั่นน้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ
  ประเทศไทยกับปัญหา กับดักรายได้ประเทศปานกลาง เดินหน้าสู่ 4.0 ! เป็นเศรษฐกิจใหม่ (New Engine of Growth) ที่มีรายได้สูง เป้าภายใน 5 ปี
โดยเป้าพัฒนา 4.0 พัฒนาต่อยอด
1.      กลุ่มอาหารเกษตรเทคโนโลยีชีวภาพ : เทคโนโลยีอาหาร เกษตรที่ไม่ใช้ปุ๋ย
2.      กลุ่มสาธารณะสุข : สปา พัฒนาเทคโนโลยีการแพทย์
3.      กลุ่มเครื่องมือ : เทคโนโลยีหุ่นยนต์
4.      กลุ่มดิจิตัล : การศึกษาออนไลน์, e-commerce , Net banking, e-marketplace
5.      กลุ่มอุุตสาหกรรมสร้างสรรค์วัฒนธรรม : การท่องเที่ยว

เหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นภายในต้นปี 2018 ที่ผ่านมา
ท่าทีของ UN และ EU ต่อประเด็นโทษประหารชีวิตในประเทศไทย
          ฝ่าย UN ได้แสดงความเห็นว่าไทยไม่แจ้งกระบวนการต่อสาธารณะชนล่วงหน้า ซึ่งขัดต่อหลักสิทธิมนุษยชนทางการเมืองด้านการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของรัฐ และไทยได้ดำเนินการสวนทางกับการให้คำมั่นสัญญาที่จะดำเนินมาตรการต่างๆ เพื่อยกเลิกโทษประหารชีวิต ที่ให้ไว้เมื่อปี 2016
            ส่วน EU บอกว่าการประหารชีวิตนักโทษของไทยครั้งนี้ทำให้ไทยถดถอยด้านกระบวนการสิทธิมนุษยชนไปอีกหลายเท่า

IUU การทำประมงผิดกฎหมาย : ไม่รายงาน และ ไร้การควบคุม
            โดย EU ให้ใบเหลืองกับไทยตั้งแต่ 2015 ซึ่งมีผลกระทบต่อการส่งออกสินค้าประมงของไทย รัฐจึงใช้อำนาจรีบแก้ไขปัญหา
1.      ออกพ.ร.ก การประมง 2558 และแก้ไขปี 2560 ออกกฎระเบียบข้อบังคับตามมาอีก 300 ฉบับ พร้อมบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวด
2.      ศาลอาญาได้ตั้งผู้พิพากษาคดีประมงแยกพิเศษเป็นการเฉพาะ
3.      จัดระบบการติดตามผลงาน จัดฐานข้อมูล เช่น จำนวนเรือ ท่าเทียบเรือ ให้ชัดเจน
            ด้านการติดตาม จัดตั้งศูนย์ควบคุมและเฝ้าระวังการทำประมง และจัดตั้งศูนย์ควบคุมการแจ้งเรือเข้าออก (PIPO)
            ด้านการตรวจสอบย้อนหลัง จากการจัดระเบียบท่าเทียบเรือ ต้องผ่านการตรวจสุขอนามัย และมีเอกสารกำกับซื้อขายทุกครั้ง
            ด้านแรงงาน มีการปรับปรุง พ.ร.ก. บริหารงานแรงงานต่างด้าว การวางระบบตรวจสอบแรงงานที่ศูนย์ PIPO เช่น แรงงานเข้าออกงานตรงเวลา จัดล่ามสัมภาณ์แรงงานเพื่อสืบสวนการเอารัดเอาเปรียบ พฤติกรรมการค้ามนุษย์ แรงงานเด็ก
ผลประโยชน์ที่ได้รับ
  • ไทยได้รับการยอมรับ + มุมมองแง่บวกจากนานาชาติ เพิ่มความเชื่อมั่นสินค้าประมงไทยในการส่งออกตลาดโลก

2017 องค์กรการบินพลเรือน (ICAO) ปลดธงแดงด้านการบินไทยแล้ว


    ผลประโยชน์ที่ได้รับ
    • เป็นที่ยอมรับมาตรฐานการบินระดับมาตรฐานสากล (ส่งผลให้นักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น)
    • สามารถเพิ่มเที่ยวบิน (สายการบินต่างประเทศเปิดเที่ยวบินมาไทยมากขึ้น)
    • ขยายจุดบินเพิ่มในต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในตลาด ญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ ซึ่งห้ามไทยขยายจุดบินและเส้นทางบินเพิ่มหลังจากไทยติดธงแดง
    ล่าสุดปี 2018 เที่ยวบินใหม่ หัวหิน-มาเลเซีย สายการบินแอร์เอเชีย 4เที่ยวบิน/สัปดาห์
       

    จีนแก้ไขรัฐธรรมนูญพรรคใหม่
    ภาพ : รายการ มิติโลก

    • ยกเลิกการจำกัดวาระการดำรงตำแหน่งของประธานาธิบดีและรองประธานาธิบดี (จากเดิมจำกัด 2 สมัย)
    • บรรจุแนวคิด สี จิ้นผิงเป็นแนวคิดสังคมนิยมแบบจีนสำหรับคนยุคใหม่
    • เน้นบทบาทของพรรคคอมมิวนิสต์
    • จัดตั้ง คณะกรรมาธิการกำกับดูแลแห่งชาติเพื่อแก้ปัญหาคอรัปชั่นของเจ้าหน้าที่รัฐ
    โดย คณะกรรมาธิการกำกับดูแลแห่งชาติ
    • มีฐานะเทียบเท่ารัฐบาล ศาล และอัยการ
    • แต่งตั้งโดยสภาประชาชนแห่งชาติ
    การแก้ไขรัฐธรรมนูญของจีนครั้งนี้ส่งผลให้ประธานาธิบดี สี จิ้นผิง ที่จะหมดวาระในปี 2023 สามารถดำรงตำแหน่งต่อไปได้ โดยการกำหนดให้ประธานาธิบดีดำรงตำแหน่งได้ไม่เกิน 10 ปี เป็นแนวคิดของผู้นำ เติ้ง เสี่ยวผิง เพื่อลดปัญหาแบบในสมัยของผู้นำ เหมา เจ๋อตง ซึ่งหากมองข้อดีของการแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งนี้ คือ การเพิ่มความต่อเนื่องของนโยบายสี จิ้นผิง แต่อีกมุมคือหากหมดวาระของสี จิ้นผิง คนต่อไปจะมีความสามารถเท่าสี จิ้นผิง หรือไม่

    สงครามการค้าเต็มรูปแบบระหว่างสหรัฐฯ และจีน
    สหรัฐประกาศมาตรการการขึ้นภาษีนำเข้าเหล็ก 25% และอะลูมิเนียม10% ฝั่งจีนตอบโต้สหรัฐโดยการเริ่มขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าจากสหรัฐฯ 128 รายการ
    ต่อมาสหรัฐฯประกาศรายชื่อสินค้านำเข้าจากจีนที่จะถูกจัดเก็บภาษีกว่า 25% 1300 รายการ โดยส่วนใหญ่เป็นสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ เช่น หุ่นยนต์ที่ใช้ในอุตสาหกรรม และอุปกรณ์สื่อสาร

    การลงนามครั้งประวัติศาสตร์ของสองเกาหลี
    เกาหลีเหนือ และเกาหลีใต้ได้ลงนามร่วม ปฏิญญาปันมุนจอมซึ่งมีสาระสำคัญ ดังนี้

    ภาพ : รายการมิติโลก

    • เปลี่ยน เขตปลอดทหารให้เป็น เขตสันติภาพ
    • ตั้งสำนักงานผู้แทนในเมืองแกซอง
    • เตรียมจัดงานรวมญาติสองเกาหลีตามชายแดนอีกครั้ง
    • เชื่อมต่อและพัฒนาถนนและเส้นทางรถไฟข้ามชายแดน
    • เข้าร่วมการแข่งขันกีฬาร่วมกันต่อไป เช่น เอเชียน เกมส์
                                                                                
    สหรัฐถอนตัวออกจากข้อตกลงนิวเคลียร์กับอิหร่าน
    พร้อมเดินหน้าใช้มาตรการคว่ำบาตรกับอิหร่านต่อไป
    โดยข้อตกลงนิวเคลียร์อิหร่านเป็นข้อตกลงระหว่างอิหร่านและประเทศมหาอำนาจอีก 5 ประเทศ (สหรัฐฯ จีน รัสเซีย เยอรมนี และฝรั่งเศส) เมื่อปี 2015 ว่าอิหร่านจะจำกัดโครงการนิวเคลียร์แลกกับการที่ประเทศอื่นๆจะยุติการคว่ำบาตรอิหร่าน แต่โดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐไม่เห็นด้วย ขณะที่อิสราเอลก็กล่าวหาอิหร่านว่ายังคงการพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์อย่างลับๆ
                อย่างไรก็ตาม ฝรั่งเศส อังกฤษ และเยอรมนี ยังคงรักษาข้อตกลงนิวเคลียร์นี้ต่อไป ด้านประธานาธิบดีฮัสซัน รูฮานี ของอิหร่าน กล่าวชัดว่ายังคง "เดินหน้าร่วมกับประชาคมโลกต่อไป"
    ความเป็นไปได้ต่อไปในอนาคต
    1.      ความขัดแย้งในตะวันออกกลางอาจเพิ่มมากขึ้น จากการแสดงจุดยืนของสหรัฐฯในการสนับสนุนซาอุดิอาราเบีย ซึ่งเป็นฝั่งตรงข้ามของอิหร่าน
    2.      อาจกระทบถึงสนธิสัญญาไม่แพร่ขยายอาวุธนิวเคลียร์ (NPT) ซึ่งเป็นพื้นฐานของข้อตกลงอาวุธนิวเคลียร์ของอิหร่าน
    รายละเอียดเพิ่มเติม https://www.bbc.com/thai/international-44039800

    การเลือกตั้งครั้งประวัติศาสตร์ของมาเลเซีย
    ครั้งแรกสำหรับมาเลเซียหลังจากได้รับเอกราชจากอังกฤษในปี 1957 โดยดร.มหาเธร์ โมฮัมหมัด สามารถชนะการเลือก ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีมาเลเซียอีกครั้ง
    สาเหตุการเปลี่ยนแปลงครั้งประวัติศาสตร์
    1.      พฤติกรรมการคอรัปชั่นของรัฐบาลนาย นาจิบ ราซัค พรรคแนวร่วมบีเอ็น กับการบริหารประเทศที่ไม่โปร่งใส ค่าครองชีพสูง การปิดกั้นเสรีภาพของสื่อ และการปิดกั้นการแสดงออกทางการเมืองของประชาชน ทำให้ประชาชนไม่พอใจและต้องการการเปลี่ยนแปลง
    2.      ประกอบกับรัฐบาลฝ่ายค้าน ได้หาเสียงนโยบายที่นำการเปลี่ยนแปลง คือ นโยบายกระจายรายได้ที่ไม่แบ่งแยกกีดกันทางเชื้อชาติ นโยบายช่วยเหลือชนชั้นแรงงานให้มีสถานะความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น นโยบายสร้างระบบเศรษฐกิจืั้เพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันเพื่อลดการผูกขาด และ นโยบายการเปิดเสรีทางการเมือง
    รายละเอียดเพิ่มเติม อ่านต่อได้ที่ ประจักษ์ ก้องกรีติ. การ ปฏิวัติผ่านคูหาเลือกตั้งที่มาเลเซีย(2018) จาก: https://www.the101.world/election-malaysia/

    โดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ไม่ร่วมลงนามในแถลงการณ์ปิดการประชุมสุดยอดผู้นำประเทศเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมชั้นนำของโลก (G7)
    หลังจากการมีความเห็นขัดแย้งกับ จัสติน ทรูโด นายกรัฐมนตรีแคนาดา ระหว่างการเจรจาเรื่องมาตรการภาษี และการขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าต่างๆ ทรัมป์ยังได้แสดงความคิดเห็นในทวิตเตอร์ว่า แคนาดาเอาเปรียบเกษตรกรสหรัฐฯด้วยการเก็บภาษีผลิตภัณฑ์นมจากสหรัฐฯ สูงกว่า 270% โดยสำนักข่าว CNN ระบุว่า การกล่าวของทรัมป์ เกิดขึ้นหลังจากนายกแคนาดาแถลงข่าวว่า ภาษีเหล็กและอลูมิเนียมของสหรัฐฯ เป็นมาตรการที่ไม่สมเหตุสมผล
    พร้อมยังกล่าวว่า ประธานาธิบดีฝรั่งเศส และ ผู้นำสหภาพยุโรป เอาเปรียบสหรัฐฯด้านการค้า และคัดค้านเห็นต่างกรณีการเรียกเก็บภาษีเหล็กและอะลูมิเนียมของสหรัฐฯ
    แน่นอนว่าการขัดแย้งของผู้นำ G7 ครั้งนี้ ทำให้มีการวิเคราะห์ว่าจะเกิดการตอบโต้ทางการค้าระหว่างประเทศโลกเสรีได้
    อ่านต่อรายละเอียดเพิ่มเติม https://www.voicetv.co.th/read/r1agVP5l7

    การประชุมสุดยอดครั้งประวัติศาสตร์ระหว่างประธานาธิบดีสหรัฐฯ โดนัล ทรัมป์ และ ผู้นำสูงสุดเกาหลีเหนือ คิม จองอึน (Trump Kim Summit 2018)
    ในวันที่ 12 มิถุนายน 2018  ณ โรงแรมคาเพลลา เกาะเซนโตซา สาธารณรัฐสิงคโปร์ ได้มีการลงนามแถลงการณ์ร่วม ซึ่งมีสาระสำคัญ 4 ข้อ ได้แก่
    1.      สหรัฐฯ และเกาหลีเหนือจะสถาปนาความสัมพันธ์ครั้งใหม่
    2.      สหรัฐฯเกาหลีเหนือจะร่วมสร้างสันติภาพที่ยั่งยืนบนคาบสมุทรเกาหลี
    3.      เกาหลีเหนือจะปลดอาวุธนิวเคลียร์ (Denuclearization) และสหรัฐฯจะรับประกันความมั่นคงให้กับเกาหลีเหนือ ตามคำมั่นในประกาศปันมุนจอมระหว่างเกาหลีเหนือ และเกาหลีใต้ 27 เมษายน ที่ผ่านมา
    4.      สหรัฐฯและเกาหลีเหนือจะฟื้นฟูข้อตกลง POW/MIA : การร่วมค้นหาศพ เชลยนักโทษและทหารที่สูญหายระหว่างภารกิจเพื่อนำตัวส่งคืน
    -ประเด็นสิทธิมนุษยชนในเกาหลีเหนือ
    ไม่มีการพูดคุยระหว่างการหารือครั้งนี้ แต่ทรัมป์ได้กล่าวว่ามีการพูดคุยส่วนตัวแล้ว
    • สหรัฐจะยุติการซ้อมรบประจำปีร่วมกันกับกองทัพเกาหลีใต้ แต่ยังคงทหารไว้ ซึ่งสอดคล้องกับที่จีนเคยเสนอข้อแนะนำ “Freeze to freeze” โดยมีเนื้อหาว่าสหรัฐจะหยุดการซ้อมรบบนคาบสมุทรเกาหลีแลกกับการที่เกาหลีเหนือจะยกเลิกโครงการทดสอบนิวเคลียร์ทั้งหมด
    • Mike Pompeo รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของสหรัฐ กล่าวว่า สหรัฐยังคงการคว่ำบาตรเกาหลีเหนือ จนกว่ากระบวนการ Denuclearization จะสมบูรณ์

    ประธานาธิบดีโดนัล ทรัมป์ ลงนามคำสั่งบริหารพิเศษ เพื่อแก้ปัญหาการทำให้พ่อแม่ต้องแยกจากลูกๆ จากการบังคับใช้กฎหมายตามนโยบาย “zero tolerence”
    หลักจากการถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนัก ประธานาธิบดี โดนัล ทรัมป์ ได้ลงนามในคำสั่งบริหารพิเศษ อนุญาตให้พ่อแม่และลูกๆที่เข้าเมืองโดยผิดกฎหมายสามารถอยู่ด้วยกันได้ โดยการบังคับใช้กฎหมายตามนโยบาย “zero tolerence” เดิมเป็นการแยกคุมขังผู้อพยพผิดกฎหมาย ผู้ใหญ่ จากเด็กๆ ซึ่งจะถูกดูแลอยู่ในอีกสถานที่ อย่างไรก็ตามการบังคับใช้กฎหมายสำหรับการเข้าเมืองโดยผิดกฎหมายยังคงเดินหน้าต่อไป
    ซาอุดิอาราเบียบังคับใช้กฏหมายอนุญาตให้ผู้หญิงสามารถขับรถได้
    เป็นครั้งแรกสำหรับประเทศซาอุดิอาราเบียในการอนุญาตให้ผู้หญิงขับรถได้ หลังจากที่เป็นประเทศเดียวในโลกที่ห้ามผู้หญิงขับรถ โดยก่อนหน้านี้ผู้หญิงซาอุดิอาราเบียต้องให้ผู้ชายขับรถให้แม้จะเป็นระยะทางใกล้ก็ตาม

    ขอขอบคุณแหล่งอ้างอิงเพิ่มเติมจาก

    การทูตของไทยในระดับพหุภาคี และทวิภาคี ในช่วงครึ่งปีแรก 2018

    การทูตพหุภาคี ระดับโลก : องค์กรสหประชาชาติ

    ตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สถานะของไทยไม่ชัดเจน ไทยไม่ใช่ทั้งผู้ชนะและผู้แพ้สงคราม ไทยจึงต้องการเป็นสมาชิก UN = ได้รับการยอมรับจากประชาคมโลก (ในกฎบัตร UN: ประเทศที่เป็นสมาชิก คือ ประเทศที่มีเอกราช และมีอำนาจอธิปไตย)
    โดยไทยเข้าเป็นสมาชิก ในเวลาการประชุมสหประชาชาติสมัยแรก เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 1945 ลำดับที่ 55 โดยมี พระองค์เจ้าวรรณไวทยากร วรวรรณ รมว.กระทรวงการต่างประเทศ ทรงเป็นผู้แทนของไทยคนแรกประจำ UN
    ·         2015  ประชุมระดับรัฐมนตรี  G77 กลุ่มประเทศกำลังพัฒนาจาก 134 ประเทศ
    ·         2016 ในเวทีประชุม UN ไทยได้กล่าวเผยแพร่หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (SEP) ในที่ประชุม เพื่อแก้ปัญหาความไม่ยั่งยืน
    เนื่องจาก ภัยคุกคามและความท้าทายใหม่ๆ ยังคงมีอยู่ ทั้งการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ภัยธรรมชาติโรคระบาด ความมั่นคงทางอาหาร-พลังงาน ภัยที่เกิดขึ้นจากมนุษย์ เช่น สงคราม ประเทศไทยประสบวิกฤติเศรษฐกิจ 'ต้มยำกุ้ง' เมื่อปี 1997 สึนามิ เมื่อปี 2004 และอุทกภัยครั้งใหญ่ เมื่อปี 2011 ทุกๆ ครั้ง ประเทศไทยก็ฟื้นกลับอย่างรวดเร็วจากการนำแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้
    ติมอร์-เลสเตได้มีการพัฒนาหมู่บ้านตามแนวคิด SEP เดินหน้าประเทศสู่ความสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรม ส่งผลให้ 22 ประเทศ จาก 77 ประเทศ สนใจ จะมีความร่วมมือกับไทยเรื่อง SEP ผ่านการให้ทุนการศึกษา อบรมศึกษาดูงานโครงการพัฒนาต่างๆ ภายใต้ความร่วมมือหุ้นส่วนทวิภาคี และไตรภาคี
    ·         กระทรวงการต่างประเทศ นำเสนอ SEP For Sustaining ปรัชญาแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงซึ่งสอดคล้องกับ แนวคิด SDGs ของ UN
    อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่: https://www.thairath.co.th/content/732795


                                                  การทูตพหุภาคี ระดับทวีป

    ·         การประชุมสุดยอดกรอบความร่วมมือเอเชีย (ACD)
    เป็นวาระการประชุม การปรึกษาเจรจาเพื่อความร่วมมือในเอเชียเข้าด้วยกัน โดยปัจจุบันได้ขยายประเทศสมาชิกไปจนถึง34 ประเทศ สมาชิกล่าสุดคือ เนปาล (2016) ล่าสุดปี 2016 ที่ผ่านมา ไทยเป็นเจ้าภาพการประชุม 2nd ACD Summit 2016 ซึ่งมีการรับรองวิสัยทัศน์ร่วมเอเชีย 2023 ที่มีเป้าหมายเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยเน้นการพัฒนาความร่วมมือที่สนับสนุน เป้าหมาย SDGs (2030) ของ UN : ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การศึกษา การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ความมั่นคงทางพลังงาน อาหาร น้ำ วัฒนธรรม และการท่องเที่ยว
    ·         การประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศเอเชีย-ยุโรป (Asia-Europe Meeting : ASEM)
    เป็นการประชุมของกลุ่มประเทศในเอเชียและยุโรป จัดตั้งขึ้นปี 1996 ณ กรุงเทพมหานคร เพื่อความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ การเมือง และวัฒนธรรมของสองกลุ่มประเทศ โดยการประชุม 12th ASEM Summit 2018 : ASEM12 จะจัดขึ้นที่ บรัสเซลส์

    การทูตพหุภาคี ระดับภูมิภาค : ASEAN

                      ช่วงปี 2016-2030 ช่วงที่อาเซียนร่วมมืออย่างแข็งขันเพื่อเดินไปข้างหน้า โดยในปี 2019 ไทยกำลังจะเป็นประธานอาเซียนอีกครั้ง
     ความท้าทายของอาเซียน
    1.      ความแตกต่างด้านระบบการเมืองของประเทศสมาชิก : ประชาธิปไตย เผด็จการ คอมมิวนิสต์ ทำให้ความร่วมมือเกิดได้ยาก
    2.      ความแตกต่างด้านเศรษฐกิจ : ประเทศพัฒนาแล้ว และประเทศที่ยังไม่ได้รับการพัฒนา ระดับเกษตร ระดับอุตสาหกรรม ระดับนวัตกรรม
    3.      ความแตกต่างด้านระดับการพัฒนา : สิงคโปร์กับประเทศอื่นๆ
    4.      ปัญหาเรื่องเขตแดน
    5.      ผู้นำขาดวิสัยทัศน์ เทียบกับในอดีตมีผู้นำที่เข้าใจโลก
    6.      ประเด็น TIP report “ สถานการณ์การค้ามนุษย์ ไม่เคยมีประเทศใดในอาเซียนถูกจัดในระดับ Tier1 ข้อแนะนำ อาเซียนต้องใช้กลไกของคระกรรมาธิการระหว่างอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (AICHR) ในการร่วมมือแก้ไขปัญหาอย่างจริงจัง
    7.      ปัญหาอาชญากรรมข้ามชาติ การก่อการร้าย ยาเสพติด ไปจนถึงปัญหาภัยพิบัติ : ไฟป่า สึนามิและโรคระบาด : มาลาเรีย ไข้เลือดออก ไข้หวัดใหญ่ ข้อแนะนำ : (ไทย)จัดทำระบบบริหารจัดการชายแดนในภูมิภาคอาเซียนที่มีการเชื่อมโยงกันทั้งระบบ

    •  เวทีการประชุมอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือในด้านการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก (ASEAN Regional Forum: ARF)
    เป็นกลไกใหม่ที่คุยกันด้านความมั่นคง เพื่อต้องการให้เกิดดุลแห่งผลประโยชน์ระหว่างมหาอำนาจ โดยการเชิญมหาอำนาจมาร่วมคุยในทุกปี : สหรัฐฯ แคนาดา ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ยุโรป รัสเซีย อินเดีย จีน ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ โดยจัดครั้งแรกปี 1994 ณ ประเทศไทย ผ่านการรับรองหลักการต่างๆในสนธิสัญญามิตรภาพและความร่วมมือในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (TAC) การสนับสนุนการใช้กลไกทางการทูตเชิงป้องกัน รวมถึงการสร้างความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคง

                                       การทูตพหุภาคี ระดับอนุภูมิภาค

    • GMS หกเหลี่ยมเศรษฐกิจ ประเทศที่ใช้แม่น้ำโขงร่วมกัน ได้แก่ จีนตอนใต้ พม่า ลาว ไทย กัมพูชา และเวียดนาม เป็นความร่วมมือทางเศรษฐกิจ สังคม เพื่อลดความหวาดระแวงทางการเมืองของประเทศเพื่อนบ้าน
    ผลประโยชน์ที่ไทยได้รับ
     ทางเศรษฐกิจ ขยายการค้า การลงทุนของไทย และ ทางการเมือง มีความสัมพันธ์อันใกล้ชิด
     ความร่วมมือ 4 ด้าน
    1.      เชื่อมโยงทางกายภาพ : คมนาคมทางบก ถนน รถไฟ ทางน้ำ ท่าเรือ และทางอากาศ
    2.      เชื่อมโยงทางด้านมนุษย์ : การท่องเที่ยว พัฒนาบุคลากร
    3.      เชื่อมโยงทางเศรษฐกิจ : การค้า การลงทุน
    4.      มีความสัมพันธ์ใกล้ เป็นมิตรชิด
     บทบาทไทย
    2โครงการสำคัญ
                  - แกนเหนือ ใต้ เชื่อม ไทย พม่า ลาว จีน
                  - ระเบียงเศรษฐกิจตะวันตก และตะวันออก (EEC) เชื่อมมหาสมุทรแปซิฟิก มหาสมุทรอินเดีย และลาว

    • ACMECS
    5 ประเทศ ได้แก่ ไทย กัมพูชา ลาว พม่า และเวียดนาม ที่มาจากการลงนามร่วม Bangan Declaration (2003) หรือปฏิญญาพุกาม เป็นผลงานนโยบายต่างประเทศในสมัยนายก พ.ต.ท ทักษิณ โดยไทยมีบทบาทนำเพราะมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุด ซึ่งมีจุดประสงค์ สร้างแหล่งนิคมอุตสาหกรรมตามแนวชายแดน เพื่อสร้างอาชีพ และลดปัญหาการอพยพข้ามชายแดนเข้ามาหางานทำในประเทศอื่น(ไทย)
    ล่าสุด การประชุม ACMECS Summit 2018 ครั้งที่ 8
    โดยไทยเป็นเจ้าภาพ  ารประชุมสุดยอดผู้นำยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอิรวดี เจ้าพระยา แม่โขง (ACMECS Summit) ครั้งที่ 8

    ผลการประชุม
    • สนับสนุนให้ไทยเสนอแนวคิดจัดทำแผนแม่บทฉบับฉบับแรกของอนุภูมิภาค เพื่อกำหนดแนวทางการดำเนินงานของ AMECS ในอีก 5 ปีข้างหน้า (2023) โดยมีเป้าหมาย (1) ความร่วมมือด้านโครงสร้างพื้นฐานเส้นทางคมนาคม (2) ความร่วมมือด้านการค้า การและทุน และด้านการเงิน (3) การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อย่างยั่งยืนและมีนวัตกรรม โดยการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่
    • เห็นชอบให้ดำเนินโครงการตามระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก - ตะวันตก (East-West Economic Corridor - EWEC) และระเบียงเศรษฐกิจตอนใต้ (Southern Economic Corridor –SEC) ในระยะแรก ในอีก 2 ปีข้างหน้า เพื่อพัฒนาความเชื่อมโยงโครงสร้างพื้นฐานและเส้นทางคมนาคม ในการอำนวยความสะดวกด้านการค้าการลงทุน
    • แผนแม่บท AMECS ยังช่วยเติมเต็ม แผนแม่บทว่าด้วยความเชื่อมโยงระหว่างกันในอาเซียน 2025

    การทูตทวิภาคี 2018

                 พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีของไทย ได้เดินทางไปประเทศอังกฤษ และฝรั่งเศส เพื่อเดินหน้าความร่วมมือการค้าการลงทุน หวังเปิดโอกาสให้เอกชนของอังกฤษและผู้ลงทุนใหม่อย่างฝรั่งเศส เข้ามาลงทุนในโครงการระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC)

    กับอังกฤษ

    • แจ้งแผนการเลือกตั้งของไทยต่อนายกเทเรซา เมย์ ของอังกฤษ ว่าจะมีขึ้นภายในปี 2019 หลังพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ร.10
    • นายกอังกฤษกล่าวว่าได้ติดตามข่าวจากประเทศไทยอยู่เสมอ และพร้อมเป็นกำลังใจ สนับสนุนให้ประเทศไทยเข้าสู่กระบวนการประชาธิปไตยในเร็ววัน
    • ไทยเชิญชวนเอกชนของอังกฤษเข้ามาลงทุนในโครงการ EEC
    มีการวิเคราะห์ว่า การเยือนอังกฤษและฝรั่งเศส ของประเทศไทยในฐานะประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 2 ในภูมิภาค ASEAN สำนักข่าว BBC ได้นำเสนอว่า เป็นการนำศักยภาพทางเศรษฐกิจที่มีอยู่มาต่อรองกับการยอมรับจากชาติประชาธิปไตยตะวันตกต่อรัฐบาลทหารที่ยังไม่มีแนวโน้มจะคืนอำนาจให้รัฐบาลพลเรือนในเร็วๆนี้ ขณะที่ สองมหาอำนาจยุโรปมองว่าไทยคือแหล่งการค้าและการลงทุนที่สำคัญของสินค้าและบริการ
    อย่างไรก็ตาม สหภาพยุโรป (EU) ยืนยันว่ายังไม่มีการปรับ "ท่าทีอ่อนลง" ต่อรัฐบาลทหารของไทย พร้อมยังคงเรียกร้องให้ไทยเข้าสู่กระบวนการประชาธิปไตย และแก้ปัญหาด้านสิทธิมนุษยชน (กรณีการห้ามการชุมนุมทางการเมืองของ กลุ่มคนอยากเลือกตั้งและกรณีการตัดสินคดีบนศาลทหารของไทย) เพราะสหภาพยุโรปจะยังไม่เจรจาเรื่องใด ๆ เช่น สนธิสัญญาการค้าเสรี ฯ อย่างเป็นทางการกับรัฐบาลไทย จนกว่าจะมีรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งแล้วเท่านั้น

    กับฝรั่งเศส

    • มีการลงนามบันทึกความเข้าใจและลงนามสัญญาระหว่างภาคเอกชนไทยกับฝรั่งเศสด้วยรวม 3 ฉบับ ได้แก่ (1) บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการศึกษาในการพัฒนาธุรกิจขนาดย่อย SMEs แลกเปลี่ยนข้อมูลการค้า นโยบายและพิธีศุลกากร (2) กรอบความร่วมมือสัญญาว่าจ้างติดตั้งระบบ Digitalization และ Visualization ในการวิเคราะห์ข้อมูล ระหว่างบริษัท PTT GC กับ Dassault System และ (3) บันทึกความเข้าใจว่าด้วยการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ Smart City ระหว่างบริษัท Loxley กับ POMA เพื่อสะท้อนให้เห็นถึงพลังของภาคเอกชนในการขับเคลื่อนความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างไทยกับฝรั่งเศส
    • การแลกเปลี่ยนความตกลงสัญญากรอบการร่วมทุนระหว่าง การบินไทย กับ Airbus Commercial Aircraft “โครงการศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยานอู่ตะเภาโดยคาดว่าจะเปิดบริการในปี 2022 ถือเป็นการใช้สนามบินอู่ตะเภาเป็น ศูนย์กลางของอุตสาหกรรมการบิน ของย่าน ASEAN เพราะตั้งอยู่ในเขต EEC"
    • สัญญาซื้อขายดาวเทียมธีออส 2

    ขอขอบคุณข้อมูลจาก
    • กระทรวงการต่างประเทศ, www.mfa.go.th/
    • เดลินิวส์, www.dailynews.co.th
    • ศาสตราจารย์ ดร. จุลชีพ ชินวรรโณ, วิชา ความสัมพันธ์นโยบายระหว่างประเทศของไทย ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560
    • BBC News บีบีซีไทย, www.bbc.com/thai
    • CNN
    • AFP 
    • Thairath 
    • Voice TV, https://www.voicetv.co.th/read/266964